การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอนของฮันเตอร์ (Hunter) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลเมืองเมยวดี อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความสามารถด้านการอ่าน; ความสามารถด้านการเขียน; ฮันเตอร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ตามรูปแบบของฮันเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านสะกดคำภาษาไทย
หลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนสะกดคำภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์กับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของฮันเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลเมืองเมยวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 จำนวน 16 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนของฮันเตอร์ จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านสะกดคำภาษาไทย จำนวน 10 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการเขียนสะกดคำภาษาไทย จำนวน 10 ข้อ รูปแบบที่ใช้ในการวิจัย การทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดเฉพาะหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.42/80.30 2) นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านสะกดคำภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนสะกดคำภาษาไทย หลังการจัดการเรียนรู้
สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านและการเขียนทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประสพสุข ฤทธิเดช. (2559). นวัตกรรมการศึกษาการสอนภาษาไทย. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
พัชรี ปฏิรูปวาที. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านและการเขียนคำใหม่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีการสอนตามรูปแบบของฮันเตอร์ และวิธีการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิมลพร พงษ์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาความสามรถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคณะ. (2553). หนังสือเรียนภาษาไทยหลักภาษาและการใช้ภาษา ม.1. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
โรงเรียนอนุบาลเมืองเมยวดี. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. ร้อยเอ็ด: งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนอนุบาลเมืองเมยวดี.
วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.
วรรณี โสมประยูร. (2554). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และ อรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
แสงจันทร์ ศรีสุทธา. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำสระเสียงยาวตามแนวคิด Brain-based Learning ร่วมกับชุดนิทานส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านแม่น (เชียงแสนประชานุสาสน์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว