The Development of an Internal Education Quality Assurance System to Promote Participation of Ban Huaisai School
Keywords:
การพัฒนาระบบ, ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน, การมีส่วนร่วมAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
และ 2) ศึกษาผลการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านห้วยทราย โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 121 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 20 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
และแบบบันทึก ผลการวิจัย พบว่า
- ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ โรงเรียน
ได้จัดงบประมาณในการดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสม ครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2) กระบวนการ ได้แก่ การประชุมปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน การนิเทศกำกับติดตาม และ 3) ผลผลิต ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจและความสามารถของกลุ่มเป้าหมายในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพภายในแบบมีส่วนร่วม ความพึงพอใจในการดำเนินงานตามระบบ และผลการประเมินคุณภาพภายนอก - ผลการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม พบว่า 1) กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้
ความเข้าใจ และมีความสามารถในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก 2) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานตามระบบ อยู่ระดับมากที่สุด และ 3) โรงเรียนผ่านการประเมินภายนอกรอบที่ 4 ในปี 2564
References
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(1), 176-187.
ปียานันต์ บุญธิมา. (2561). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยม้าโก้งด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
พระมหากิตติศักดิ์ สิริวฑฺฒโก. (2562). การพัฒนากระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 377-394.
โรงเรียนบ้านห้วยทราย. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2562. อัดสำเนา. นครพนม: โรงเรียนบ้านห้วยทราย.
สงบ ลักษณะ. (2552). หลักการประกันคุณภาพทางการศึกษา. ม.ป.ท.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุรสีห์ จันทร์แสงศรี, อมร มะลาศรี และสมัคร เยาวกรณ์. (2562). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนคลองขามวิทยาคาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(2), 128-139.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). การดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ปฏิรูป การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2550). มาตรฐานการศึกษาและตัวชี้วัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2023 Roi Et Rajabhat University
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว