การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการเมืองการปกครอง ของไทยและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ หัตถนิรันต์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • อรัญ ซุยกระเดื่อง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ, เทคนิค STAD, การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการเมืองการปกครองของไทยและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD เรื่อง การเมืองการปกครองของไทยและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัด
การเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed-Ranks Test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการเมืองการปกครองของไทย และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.3/83.6 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2549). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแผนผังความคิดในการสรุปงาน. กรุงเทพฯ: อริยชน.

จุฬาลักษณ์ รักพงษ์, เชาวฤทธิ์ จั่นจีน, พิศมัย หาญสมบัติ. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบร่วมมือ วิชาหน้าที่พลเมือง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 15(1), 233-242.

ซวน ดิง ทิ่ แทง และสิทธิศักดิ์ จุลศิริพงษ์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ รู้จักอาเซียน และความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 95-103.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2546). ศึกษาสภาพความเป็นองค์กรของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โรงเรียนบ้านหนองไผ่. (2561). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนบ้านหนองไผ่ ประจำปีการศึกษา 2561. มหาสารคาม: โรงเรียนบ้านหนองไผ่.

วรัญญา กิ่งสวัสดิ์. (2562). กระบวนการกลุ่มในการทำงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนพระปฐม วิทยาลัยหลวงพ่อเงินอนุสรณ์. นครปฐม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม เขต 9.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์วัฒนาพานิช.

ศุภลักษณ์ จ้อยนุแสง และวนิดา ผาระนัด. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), 150.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สมฤดี พิพิธกล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม. มหาสารคาม: โรงเรียนโกสุมพิทยาสรรค์.

สาโรช โศภีรักข์. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

อัธยา เมิดไธสง. (2563). กระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 174-183.

Slavin, R.E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice (2nded.). Massachusetts: Needham.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-29

How to Cite

หัตถนิรันต์ ศ., & ซุยกระเดื่อง อ. (2023). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการเมืองการปกครอง ของไทยและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามวิถีประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 17(1), 77–88. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/252302