การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา ไพลิน คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ณัฏฐชัย จันทชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, ความพึงพอใจในการเรียน

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL
กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL
ชั้นประถมศึกษา 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองสิม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน 2) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (One Sample)

              ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการคูณโดยใช้เทคนิค KWDL ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/82.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องการคูณ
โดยใช้เทคนิค KWDL โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.99, S.D. = 0.94)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นิรันดร์ แสงกุหลาบ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยมและ ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิค K-W-D-L และตามแนว สสวท. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผ่องณภา ใจทา. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พรพิรุณ บุตรดา. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การคิด วิเคราะห์และมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการเรียนด้วยวิธีสอน โดยใช้ยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชันกับการเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มะลิวัลย์ ศรีบานชื่น. (2554). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ KWDL และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 5(4), 62-69.

โรงเรียนบ้านหนองสิม. (2560). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. มหาสารคาม: โรงเรียนบ้านหนองสิม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วิราฉัตร ตั้งอารีอรุณ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิด KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุลัดดา ลอยฟ้า. (2552). คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวร กาญจนมยูร. (2555). เทคนิคการใช้สื่อทางคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2553). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 -2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: แม็ทซ์พอยท์.

Shaw, J.M. and others. (1997). Cooperative Problem Solving: Using K-W-D-L Lasan Organizational Technique. Retrieved May 5, 1997, From http://static.highbeam.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29

How to Cite

ไพลิน ส., เขจรภักดิ์ ธ., & จันทชุม ณ. (2022). การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(1), 15–23. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/243089