ปัจจัยองค์การกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ศรีพุทธรินทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ปัจจัยองค์การ, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, มหาวิทยาลัยนครพนม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์เกี่ยวกับปัจจัยองค์การ และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์การและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม กลุ่มตัวอย่างเป็นคณาจารย์ และนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 390 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตาราง Krejcie and Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยองค์การ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .23-.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 แบบสอบถามเกี่ยวกับ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .71-.92 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์เกี่ยวกับปัจจัยองค์การและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรด้านปัจจัยองค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ตัวแปรปัจจัยองค์การที่สามารถพยากรณ์ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 7 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย ปัจจัยด้านรูปแบบการบริหาร ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยด้านทักษะความรู้ความสามารถ และปัจจัยด้านค่านิยมร่วม โดยร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้ร้อยละ 79

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรรณทิภา คำพรหม. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ : การวิเคราะห์ถดถอยแบบกำหนดลำดับขั้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วารี ชมชื่น. (2559). กลยุทธ์การดำเนินการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.

สุธร วงค์แดง, ภานุมาส เศรษฐจันทร์ และวีระพงษ์ สิงห์ครุฑ. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 75-90.

สุภาพ เต็มรัตน์. (2550). ปัจจัยที่ส่งต่อพฤติกรรมการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตภาคใต้ตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อรัญญา ชนะเพีย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 50-58.

เอกชัย พุทธสอน. (2556). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Izzo, M.V., Yurick, A., Nagaraja, H.N. and Novak, J.A. (2010). Effects of a 21st Century Curriculum on Students Information Technology and Transition Skills. Career Development and Transition for Exceptional Individuals, 33(2), 95-105.

Kay, K. (2010). Twenty-First Century Students Need 21st Century Skills. U.S.A.: Springer Science.

Robles, O. and Maric, A.C. (2012). Cyber Portfolio: The Innovative Menu for 21st Century Technology. Psychology Research, 2(3), 143-150.

Choo, S. (2011). An Analysis of Informations’ Curriculum from the Perspective of 21st Century Skills and Computational Thingking. Instistute of Computer Educational Journal, 14(6), 12-19.

Waterman, R., Peters, J. and Phillips, R. (1980). Management Frameworks. Business Horizons, 23(3), 14-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

How to Cite

ศรีพุทธรินทร์ ส. (2021). ปัจจัยองค์การกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), 50–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/241010