รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2

ผู้แต่ง

  • ทัศชัย ชัยมาโย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • สายันต์ บุญใบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ละม้าย กิตติพร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนา, ภาวะผู้นำใฝ่บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบกสังกัดกองทัพภาคที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตร จำนวน 105 นาย และชั้นประทวน 105 นาย รวม 210 นาย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามภาวะผู้นำใฝ่บริการ แบบประเมินรูปแบบ และชุดการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ แบบประเมินภาวะผู้นำใฝ่บริการ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงิน ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) ด้านการบริการตามบทบาทหน้าที่ (2) ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาและเสริมพลังอำนาจแก่บุคลากร (3) ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างชุมชน 4) ด้านการมีวิสัยทัศน์และการสื่อสารที่ดี (5) ด้านการรับฟังและการเห็นอกเห็นใจ และ (6) ด้านความนอบน้อมและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สภาพการปฏิบัติงานด้านภาวะผู้นำโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงิน ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) กระบวนการพัฒนา (4) ชุดการพัฒนาในแต่ละองค์ประกอบ และ (5) การติดตามและประเมินผล 3) ผลของการประเมินประสิทธิผลโดยการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ พบว่า (1) รูปแบบการพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) ภาวะผู้นำใฝ่บริการมีการเปลี่ยนแปลงหลังทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการที่มีต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำใฝ่บริการของกลุ่มทดลองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) ภาวะผู้นำใฝ่บริการระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ มีค่าสูงกว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Author Biography

สายันต์ บุญใบ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบกสังกัดกองทัพภาคที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตร จำนวน 105 นาย และชั้นประทวน 105 นาย รวม 210 นาย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามภาวะผู้นำใฝ่บริการ แบบประเมินรูปแบบ และชุดการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ แบบประเมินภาวะผู้นำใฝ่บริการ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงิน ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) ด้านการบริการตามบทบาทหน้าที่ (2) ด้านการมุ่งมั่นพัฒนาและเสริมพลังอำนาจแก่บุคลากร (3) ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างชุมชน 4) ด้านการมีวิสัยทัศน์และการสื่อสารที่ดี (5) ด้านการรับฟังและการเห็นอกเห็นใจ และ (6) ด้านความนอบน้อมและการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สภาพการปฏิบัติงานด้านภาวะผู้นำโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงิน ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) กระบวนการพัฒนา (4) ชุดการพัฒนาในแต่ละองค์ประกอบ และ (5) การติดตามและประเมินผล 3) ผลของการประเมินประสิทธิผลโดยการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ พบว่า (1) รูปแบบการพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) ภาวะผู้นำใฝ่บริการมีการเปลี่ยนแปลงหลังทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความพึงพอใจของผู้ที่มารับบริการที่มีต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำใฝ่บริการของกลุ่มทดลองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (4) ภาวะผู้นำใฝ่บริการระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ มีค่าสูงกว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชรินดา พิมพบุตร. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชูชาติ สุกใส. (2559). สารจากเจ้ากรมการเงินทหารบก ประจำปีงบประมาณ 2559. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2559, จาก http://findept.rta.mi.th/indexfin

แซมมิล อาร์เม็ด, ฐิตินัฏฐ์ อัคคเดชอนันต์ และรัตนาวดี ชอนตะวัน. (2558). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลวิทยาลัยการแพทย์. พยาบาลสาร. 42,(พิเศษ), 136-148.

ปองภพ ภูจอมจิตร, ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และนุกูล กุดแถลง. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/5404

ละม้าย กิตติพร. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการให้บริการของบุคลากรในสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วาระดี ชาญวิรัตน์. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ของผู้นำวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ. วารสารชุมชนวิจัย. 10,(1), 35-44.

สายันต์ บุญใบ, วัฒนา สุวรรณไตรย์ และวันนพร สิทธิสาร. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 5,(20), 27-35.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ แนวคิดหลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

How to Cite

ชัยมาโย ท. ., บุญใบ ส., & กิตติพร ล. (2021). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของทหารเหล่าการเงินในกองทัพบก สังกัดกองทัพภาคที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), 39–49. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/240167