การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ พิมพ์ไทยสง นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จิระพร ชะโน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวังน้ำเขียวพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ 2) แบบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนา คือ การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ โดยเชื่อมโยงทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เข้าด้วยกัน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.26/78.88 2. ผลการใช้การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อภาษาอังกฤษโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยสรุปการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ

References

กัญญาภัทร เหิมขุนทด. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โมเมนตัมและการชนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ประเวศ วะสี. (2550). ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างปัญญาด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: ไทยรัฐ.

ปิยวรรณ ปรสันติสุข. (2556). อ่านเถิดเด็กไทย อ่านถวายเจ้าฟ้านักอ่าน. กรุงเทพฯ: เดลินิวส์.

สัณห์สุดา พลธรรม. (2546). ผลของการใช้มัลติมีเดียที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมจิต หนูพิชัย. (2551). ผลการใช้วิธีสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับเทคนิคการอภิปรายกลุ่มแบบโต๊ะกลม ต่อทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30

How to Cite

พิมพ์ไทยสง จ., & ชะโน จ. (2019). การจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(2), 140–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/213087