การใช้แผนภูมิความหมายในการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษในชั้นเรียนผู้เรียนชาวไทย ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
คำสำคัญ:
แผนภูมิความหมาย, การสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายความหมาย องค์ประกอบ และขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนภูมิความหมายในการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็น เนื่องจาก การอ่านจะช่วยสร้างความเป็นผู้รู้รอบ แต่ทักษะการอ่านอาจจะเป็นทักษะที่ยากสำหรับผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษา ต่างประเทศ เนื่องจากผู้เรียนไม่คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ จึงทำให้ผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศต้องเข้าใจคำศัพท์และรูปประโยคต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษ จึงจะสามารถอ่านและจับใจความของเรื่องได้อย่างเข้าใจ ดังนั้นการใช้แผนภูมิความหมายเป็นวิธีการเรียนการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยให้การอ่านภาษาอังกฤษง่ายขึ้น เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนภูมิความหมาย ได้แก่ รูปทรงเรขาคณิตหรือรูปร่างแบบอื่น ๆ ข้อความที่เป็นเนื้อหา ของใจความหลักหรือรายละเอียดของเรื่องที่อยู่ในรูปทรงเรขาคณิตหรือรูปร่างแบบอื่น ๆ ตลอดทั้งลูกศรที่ใช้แทนทิศทาง และเชื่อมโยงความคิดรวบยอด สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อความที่อ่าน และสามารถช่วยให้ผู้เรียนจัดระเบียบรายละเอียดต่าง ๆ เข้าเป็นกลุ่มตามหัวข้อหรือประเภทได้ ตลอดทั้งขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนภูมิความหมาย เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากมีขั้นตอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างแผนภูมิความหมายอย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนภูมิความหมายจึงเป็นวิธีการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านเรื่องได้อย่างเข้าใจ เพราะการใช้แผนภูมิความหมายเป็นกลวิธีการอ่านที่มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความคิดรวบยอดทั้งหมดของเรื่อง อย่างเป็นระบบ
References
ประเทืองสุข ยังเสถียร. (2549). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนรัฐบาล เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิสิทธิ์ จิตติสุขพงษ์. (2550). การศึกษาผลสัมพันธ์ในการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แผนภูมิความหมายของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
มณีรัตน์ สุภโชติรัตน์. (2552). อ่านเป็น : เรียนเก่ง สอนเก่ง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รุ่งฤดี แผลงศร.(2556). การจัดการเรียนการสอนทักษะการอ่านภาษาไทยระดับสูง สำหรับผู้เรียนชาวต่างประเทศ โดยวิธีการใช้ผังมโนภาพ The Teaching of Thai Reading Skills to Foreign Learners through Mapping. วารสารมนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์, 34(1), 83-90.
วิลาวัณย์ สมมาตร. (2543). ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษขั้นตีความของนิสิตชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภัทรา อักษราพุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2549). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรุณี วิริยะจิตรา. (2532). การเรียนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
Conley, M.W. (1995). Content Reading Instruction: A Communicative Approach (2nd ed). New York: McGraw-Hill.
Morris, A. & Dore, S.N. (1984). Learning to Learn from Text. Singapore: Addison-Wesley.
Oxenden, C. & Seligson, P. (2008). English File: Book I. New York: Oxford University Press.
Rattanavich, S. (1987). The Effects of Using top-Level Structure Instructional Modules and Traditional Teaching Method in Teaching English to Thai Students. Project Report SEAMEO RELC Fellowship Grant.
Sinatra, R.C.; Stahl–Gemake, J. & Morgan, N.W. (1996). Using Semantic Mapping after reading to Organize and Write Original Discourse. The Reading Teacher, 38(1), 4-12.
Valette, R.M. & Disick, R.S. (1972). Modern Language Performance Objectives and Individualization: A Handbook. New York: McGraw-Hill.
Zaid, D.R. (1995). Story Maps Improve Comprehension. The Reading Teacher, 39(5), 705-712.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว