ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพการบริการ ของอิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อุดร อุประ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สืบชาติ อันทะไชย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ, ทัศนคติผู้บริโภค, คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการบริการของอิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อคุณภาพการบริการด้านอิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 420 คน โดยผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน คือการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา และการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการด้านอิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อคุณภาพการบริการ พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงาน และทัศนคติของผู้บริโภค ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการ สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพการบริการของแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน ได้ร้อยละ 54.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.740

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกณรา ณ ถลาง และภูษิต วงศ์หล่อสายชล. (2559). คุณภาพการให้บริการของธนาคารออมสินสาขาหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จิวรัส อินทร์บำรุง. (2553). ส่วนประสมทางการตลาดและทัศนคติของผู้ใช้บริการอินเตอร์เนตแบงค์กิ้ง บมจ. ธนาคารกรุงไทย ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ภานุพงศ์ ลือฤทธิ์. (2560). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้งาน: กรณีตัวอย่างของแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินบนโทรศัพท์มือถือ. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพพร สะใบบาง. (2553). คุณภาพการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาแม่โจ้. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริการธุรกิจ. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณพร หวลมานพ. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้แอพพลิเคชั่นเคโมบายแบงก์กิ้งพลัสของธนาคารกสิกรไทย

จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล และคณะ. (2553). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 4). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จีพีไซเบอร์พรินท์.

ศราวุธ ยุตะวัน. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารกรุงเทพของลูกค้าในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27

How to Cite

อุประ อ. ., & อันทะไชย ส. . (2020). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อคุณภาพการบริการ ของอิเล็กทรอนิกส์แอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), 183–195. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/209524