The Development of Mathematical Reasoning Thinking by Lesson Study Process and Open Approach in Pakse Teacher Training College’s Demonstration School, Lao PDR
Keywords:
Lesson Study Process, Open Approach, Mathematical Reasoning ThinkingAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน และหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูปากเช สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561-2562 โรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยครูปากเช นครปากเช แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 28 คน ชึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดความสามารถ ในการคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์ แบบอัตนัยจำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ .35 - .75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 - .80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิดมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยอาศัยข้อมูล หลักการ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49 2) ด้านการแสดงแนวคิดในการแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.54 3) ด้านความสามารถในการอธิบาย และการตรวจสอบแนวคิดอย่างสมเหตุ สมผล มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.56
References
กระทรวงศึกษาธิการ และกีฬา สปป ลาว. (2551). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาแห่งชาติ 2549- 2558. นครหลวงเวียงจันท์: โรงพิมพ์ศรีสวาท.
กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป ลาว. (2558). วิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปี 2573 และยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาและกีฬาระยะ 10 ปี. นครหลวงเวียงจันทร์: กระทรวงศึกษาธิการ และกีฬา สปป ลาว.
คำหล้า คำเมืองคุณ. (2560). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในชั้นเรียน โดยใช้วิธีการแบบเปิดในโรงเรียนสาธิต วิทยาลัยครูปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ตติมา ทิพย์จินดาชัยกุล. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์ และคณะ. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีแบบเปิด (Open Approach) : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 76–80.
พัทธยากร บุสสยา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยครูปากเซ. (2561). บทรายงานปะจำปี 2560-2561. วิทยาลัยครูปากเช สปป ลาว: โรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยครูปากเซ.
วนัญชนา เชิงดี. (2555). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการแบบเปิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วันวิไล ทองคำ. (2561). การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการคิดอย่างมีเหตผลทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิทีการแบบเปิด (Open Approach) สำหรับโรงเรียนสาธิต ชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยครูปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครหลวงเวียงจันทน์: มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.
สดใส ศรีกุตา. (2557). การใช้การประเมินระหว่างสอนของครูเพื่อปรับการจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมจิต อินทรชาติ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมณฑา สิงห์ชา. (2557). ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach). วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา. (2548). บูรณาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Inprasitha, M. (2011). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia, 34(1), 47–66.
Ulep, S. (2008). Promoting mathematical Communication in the classroom through solving Open-ended Problems. APEC khon kaen International Symposium Innovation of Mathematics Teaching and Learning through Lesson study III, 25-29 August 2008, 130-138.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว