การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียน บ้านโนนแต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3

ผู้แต่ง

  • ประชาชาติ ไชยพรม นักศึกษาปริญญาโท สาขานวัตกรรมการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วันเพ็ญ นันทะศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ทักษะการแก้ปัญหา, นักเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2) ประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านโนนแต้ อำเภอวานรนิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบที (t-test for dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนแต้มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) เนื้อหา 3) กิจกรรมการฝึกอบรม และ 4) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (ก่อนอบรม gif.latex?\bar{x}= 9.10; S.D.=1.93) (หลังอบรม gif.latex?\bar{x} =15.34; S.D.=1.04) 2) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} =3.17; S.D.=0.19) 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนแต้อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.80; S.D.=0.28)

References

จิรฐา จรวงษ์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู เรื่อง กลยุทธ์การสอนทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา.
วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยธัช จันทร์สมุด. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับบุคลากรองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ซ่อนกลิ่น กาหลง. (2559). การวิจัยและพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นภาพิไล ลัทธศักดิ์ศิริ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจสำหรับ
พนักงานระดับหัวหน้างานศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจยานยนต์อีซูซุ ในภาคตะวันออก ประเทศไทย. วารสารการศึกษา
และการพัฒนาสังคม, 11(2), 235.

บุญเกิด กลมทุกสิ่ง. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พระมหาเนตร ดอกมะกล่ำ. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พัชรี ศรีษะภูมิ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยผสานแนวคิดทฤษฎีการ
เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
11(2), 121.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2550). เอกสารคำสอนวิชาการคิดและการพัฒนาตน. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้น.

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2550). หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สรญา วัชระสังกาศ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). กรอบการนำทักษะการคิดสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ในสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน.
ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อรวรรนี ไชยปัญหา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Tyler, R. W. (1989). Basic principle of curriculum: An instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29

How to Cite

ไชยพรม ป., นันทะศรี ว., & เพ็งสวัสดิ์ ว. (2019). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียน บ้านโนนแต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 69–78. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/185965