ความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังก้ดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มคณุภาพการศึกษาท่าลี่
คำสำคัญ:
ความต้องการของผู้ปกครอง, การจัดการศึกษาปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยและเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 กลุ่มคุณภาพการศึกษาท่าลี่ จังหวัดเลย จําแนกตามระดับการศึกษารายได้ต่อเดือนและอาชีพกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กจํานวน 159 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบที (t–test) และการทดสอบเอฟ (F–test)
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของผู้ปกครองอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือด้านครูผู้สอนรองลงมาคือด้านความปลอดภัย ด้านการบริการ ด้าน อาหารและสุขภาพ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการ จัดสภาพแวดล้อมส่วนผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านอาหารและสุขภาพ ด้านความปลอดภัย ด้านครูผู้สอน ด้านการบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบจําแนกตามระดับการศึกษารายได้และอาชีพพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์. (2549). การศึกษาความต้องการการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
รวิธิดา เนื้อทอง. (2550). ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนแวงหิรัญ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัชราภรณ์ พยัคฆ์เมธี. (2546). การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยในอําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วารี กติกา. (2540). การรับรู้และแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดอนุบาลศึกษาโรงเรียนเอกชน อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริรันชนิภา ศิริชยพัท์ และวรรณวิภา จัตุชัย. (2553). ความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลนาโพธิ์ อําเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต.
สุพัตรา คงขํา. (2544). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาเด็กเล็กในศนูย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตจังหวดันนทบุรี. วิทยานิพนธ์ (สังคมวิทยาประยุกต์). กรุงเทพฯ : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรุณี นาคกล่อม. (2547). สภาพการบริหารงานและความคาดหวังของผู้ปกครองต้อการบริหารงานระดับปฐมวัยของโรงเรียนเอกชนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศกึษา).
ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา
อารมณ์ สุวรรณปาล. (2537). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Callard, R.S. (1979). “A Study of the Effect of Increasing Parental Expectation International,” Dissertation Abstracts International. 40(2) : 563–A.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 3rded. New York : Harper ollins.
Davis, K. (1982). Human Behavior at Work : Human Relations and Organizational Behavior. New York : McGraw–Hill.
Hicks, H.G., & Gullett, C.R. (1976). Organization : Theory and Behavior. New York : McGraw–Hill.
Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (1991). Educational Administration Theory–research–practice.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว