การใช้กิจกรรมการสอนตามกระบวนการอรรถฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน จดหมายท้วงติงทางธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร ปรุงเกียรติ
  • อินธิสาร ไชยสุข

คำสำคัญ:

การเขียนจดหมายท้วงติง, การสอนตามแนวอรรถฐาน, เจตคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนจดหมายท้วงติงทางธุรกิจของนักศึกษา
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนตามกระบวนการอรรถฐานและ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเขียน
จดหมายท้วงติงทางธุรกิจของนักศึกษา ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสอนตามกระบวนการอรรถฐาน ก่อนและหลังเรียน
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษากาลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จานวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือก
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 18 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการ
อรรถฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนจดหมายท้วงติงทาง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเขียนจดหมาย
ท้วงติงทางธุรกิจ (Complaint Letter Writing Test) 3) แบบวัดเจตคติ (Attitude Questionnaire) และ 4) เกณฑ์การประเมิน
ความสามารถในการเขียนจดหมายท้วงติงทางธุรกิจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนมีผลการสอบก่อนการจัดกิจกรรมโดยรวม เฉลี่ยเท่ากับ 68.43 ผลการทดสอบหลังการจัด
กิจกรรมโดยรวม เฉลี่ยเท่ากับ 88.21 ค่า t-test เท่ากับ 27.95 และผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้การเขียนจดหมายท้วงติง
ทางธุรกิจโดยกิจกรรมการสอนตามกระบวนการอรรถฐาน

References

ฉัตรชัย อภิวันท์สนอง. (2548). ศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน ความสามารถในการเขียนและแรงจูงใจ
ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีตามแนวทฤษฎีการสอน
แบบอรรถฐานและการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิตรวัลย์ โกวิทที. (2540). ทักษะและเทคนิคการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2526). วิวัฒนาการภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมสมัย วิสูตรรุจิรา. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษและเจตคติต่อการเขียน
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนเขียนตามแนวทฤษฎีการสอนแบบอรรถฐาน
กับการสอนเขียนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริมาน ยุวโสภีร์. (2545). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และเจตคติและคิดสร้างสรรค์
ทางภาษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนเขียนตามแนวทฤษฎีการสอนแบบอรรถฐาน
กับการสอนเขียนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

อินทร์วุธ เกษตระชนม์. (2551). ผลการสอนเขียนตามแนวคิดอรรถฐานที่มีต่อความสามารถในการเขียนเรียง
ความเชิงสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.บ. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Halliday, M. A. K., & Webster, J. J. (Eds.). (2009). Bloomsbury Companion to Systemic Functional Linguistics.
A&C Black.

Hyland, K. (2003). Second Language Writing. New York: Cambridge University Press.

Jacobs, H. L. et. al. (1981). Testing ESL Composition ; A Practical Approach. Rowley, MA: Newbury House.
Miller, S. (1984). The Politics of Composition. Carbondale, IL: Southern Illinois University Press.
Valette, Rebecca M. (1977). Modern Language Testing. 2nded. New York: Harcourt, Brace & World Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31

How to Cite

ปรุงเกียรติ ธ., & ไชยสุข อ. (2017). การใช้กิจกรรมการสอนตามกระบวนการอรรถฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียน จดหมายท้วงติงทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 272–281. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176375