การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูด้วยกิจกรรมสะท้อนคิด โดยใช้รูปแบบ 3-R ในรายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • สุพรรณิการ์ ชนะนิล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูด้วยกิจกรรมสะท้อนคิดโดยใช้
รูปแบบ 3-R ในรายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดกิจกรรม
สะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบ 3-R รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4
ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา MAT4122 การวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 2/2559 จานวน 122 คน
โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เอกสารและเครื่องมือที่ใช้ คือ 1) เอกสารใช้ประกอบการทดลองเชิงปฏิบัติการ ได้แก่
1.1) เอกสาร มคอ. 3 รายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์ 1.2) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสะท้อนคิด
สาหรับผู้สอน 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการ ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกประจาวันของผู้สอน 2.2) แบบสอบถาม
ความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อกิจกรรมสะท้อนคิด ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา
ครู ด้วยกิจกรรมสะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบ 3-R ได้ขั้นตอนการทากิจกรรมสะท้อนคิด ดังนี้ 1.1) สร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
ให้ผู้เรียนเกิดความผ่อนคลาย ไม่กดดัน 1.2) ให้ความรู้พื้นฐานในการเขียนสะท้อน และยกตัวอย่างการเขียนสะท้อนรูปแบบ
ต่าง ๆ 1.3) กาหนดกรอบการเขียนสะท้อนโดยใช้รูปแบบ 3-R ได้แก่ Reaction, Relevance, Responsibility 1.4) นาผล
การสะท้อนมาปรับปรุงการสอนเป็นระยะ โดยการเขียนตอบกลับการชมเชย การขอโทษ และให้กาลังใจในการเขียนสะท้อน
ในครั้งถัดไป 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อการจัดกิจกรรมสะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบ 3-R ในรายวิชา
การวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์ พบว่าโดยภาพรวมความคิดเห็นของนักศึกษาครูที่มีต่อกิจกรรมสะท้อนคิดในรายวิชา
การวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.35 คิดเป็นร้อยละ 86.97
โดยมีความคิดเห็นด้านผู้สอนอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมสะท้อนคิด

References

กรรณิกา วิชัยเนตร. (2557). การสะท้อนคิด: การสอนเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการ
ฝึกปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลตารวจ. 6(2), 188-199.

กฤษณา ขาปากพลี. (2557). ผลการใช้การบันทึกสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา:
การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัลยา ศรีมหันต์ และจิริยา อินทนา. (2559). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ตามสภาพจริงร่วมกับการสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เรียนให้การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนี ราชบุรี สถาบันพระบรมราชชนก.

ชมพูนุช จันทร์แสง. (2557). ผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่แตกต่างกัน ที่มีต่อความสามารถในการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การวัดและประเมินผลการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุจเดือน เขียวเหลือง. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการตัดสินใจ
เชิงจริยธรรมทางการพยาบาลสาหรับนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สาขาวิชาคณิตศาสตร์. (2559). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง 2560. ร้อยเอ็ด:
คณะครุศาสตร์.
.
เอกชัย วิเศษศรี. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการสะท้อนคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการสอนแบบสะท้อนคิดของครูเป็นตัวแปรปรับ: การวิจัยเชิงทดลอง. การศึกษาหลักสูตร
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Antonietti, A, Confalonieri, E & Marchetti, A. (2014). Reflective Thinking in Educational Setting : A Cultural
Framework. New York: Cambridge University.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
Kemmis, S and , Mc Tagart. (1990). The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-07

How to Cite

ชนะนิล ส. (2019). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาครูด้วยกิจกรรมสะท้อนคิด โดยใช้รูปแบบ 3-R ในรายวิชาการวัดผลและประเมินผลทางคณิตศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176370