การสร้างเครื่องมือฝึกทักษะความแม่นยำในการโยนลูกเซปักตะกร้อ (TG1.1)

ผู้แต่ง

  • อภิชาต ดีไม่น้อย

คำสำคัญ:

เซปักตะกร้อ, ฝึกทักษะความแม่นยำ, เครื่องมือ TG1.1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการสร้างเครื่องฝึกทักษะการโยนลูกเซปักตะกร้อ (TG1.1) ที่ผู้วิจัย
สร้างขึ้นที่มีต่อทักษะความแม่นยำการโยนลูกเซปักตะกร้อ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้เครื่อง
TG1.1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาเซปักตะกร้อสมัครเล่น สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ชั้นปีที่ 4
จำนวน 30 คน ทำการคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่อง TG1.1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และ
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เครื่อง TG1.1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. เครื่อง TG1.1 สามารถวัดความแม่นยำในทักษะการโยนลูกเซปักตะกร้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามจุดประสงค์
ที่ต้องการวัด โดยมีค่าความเชื่อมั่น และความเป็นปรนัย อยู่ในระดับสูงมาก (r. = .95, 1) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 และสามารถนำไปใช้ฝึกทักษะความแม่นยำการโยนลูกเซปักตะกร้อได้
2. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้เครื่อง TG1.1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
4.26 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย 4.50
รองลงมา คือ ด้านอุปกรณ์การฝึกสมบูรณ์พร้อมใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.46

References

กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ การเกษตรไชยปราการจำกัด
อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

กรมพลศึกษา. (2555). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาเซปักตะกร้อ T-Certificate. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์
ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : เทพนรมิตการพิมพ์.

ไชยสิทธิ์ อุดรพิมพ์. (2545). การประดิษฐ์เครื่องส่งลูกตะกร้อในกีฬาเซปักตะกร้อ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พัฒพงษ์ พงษ์สกุล. (2541). การสร้างเครื่องตั้งลูก ตบลูกมือล่าง และลูกสองมือบน ในกีฬาวอลเลย์บอล. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

พิชัย ทองประยูร. (2543). การประดิษฐ์เครื่องส่งลูกวอลเลย์บอล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ศักยภาพ บุญบาล. (2554). การฝึกทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมพร ฉ่ำเอี่ยม. (2538). การสร้างเครื่องยิงลูกเทเบิลเทนนิส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-31

How to Cite

ดีไม่น้อย อ. (2017). การสร้างเครื่องมือฝึกทักษะความแม่นยำในการโยนลูกเซปักตะกร้อ (TG1.1). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12, 113–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/176304