ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

ผู้แต่ง

  • อาธิชา ศิริอามาตย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สมนึก ภัททิยธนี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการตนเอง, การเรียนรู้, คณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การวางแผน การควบคุม และความรับผิดชอบ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จานวน 360 คน จากโรงเรียน 17 โรง ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ได้แก่ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ด้านละ 15 ข้อ รวม 60 ข้อ ตอนที่ 2 การบริการจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ .23 - .81 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับตั้งแต่ .80 - .90 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) โดยวิธี พี เอ คิว

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยทางตรงต่อการบริหารจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ ได้แก่ การวางแผน (X2) และการรับรู้ความสามารถของตน (X1)

2. ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารจัดการตนเอง ในการเรียนคณิตศาสตร์ ได้แก่ การควบคุม (X3) และความรับผิดชอบ (X4)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฉวีวรรณ เศวตมาลย์. (2545). การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เซอร์โต และซามูเอล ซี. (2552). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ดรัคเกอร์ และปีเตอร์ เอฟ. (2545). จัดการตนและประเมินตัวเองตามแนวดรักเกอร์. กรุงเทพฯ: บริษัทแปลนพริ้นติ้งจำกัด.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.บิซิเนสเพรส.

ทิพวรรณ กิตติพร. (2545). วิกฤตคุณภาพคน : แนวทางในการแก้ไขและพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 40-46.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มัลลิกา ต้นซ้อน. (2544). การจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2557). รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียน (O–NET) ปีการศึกษา 2557. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.

อนันต์ เกตุวงศ์. (2541). หลักและเทคนิคการวางแผน. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

อรวรรณ พาณิชปฐมพงศ์. (2542). ผลของการใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการควบคุมตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bandura, Albert. (1977). Self-efficacy : Toward a Unifying Theory of Behavior. Psychological Review. 84(2), 191-215.

_____________. (1986).Social Foundation of thought and Action : A Social Cognitive Theory. Engewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.

_____________. (1994). Self-efficacy. in V.S. Ramachandran (ED.), Encyclopedia of Human Behavior. New York: Academic Press.

Heo, Heeok. (1998). The Effect of Self- Regulated Learning Strategies on Learner Achievement and Perceptions on Person Learning Responsibility. Dissertation for the Degree of Doctor of Philosophy. U.S.A. : The Florida State University.

Prawpan Suriwong. (2558). เด็กไทยติด สมาร์ทโฟน. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2558, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/27585-เด็กไทยติด

Robison, Simon and Dowson, Paul. (2011). Responsibility and Integrity in the Curriculum. Jour of Global Responsibility. 2(2), 253-268.

Yorke, M. and P. Knight. (2004). Embedding Employability in the Curriculum. New York: Learning and Teaching Support.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01

How to Cite

ศิริอามาตย์ อ., & ภัททิยธนี ส. (2018). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(2), 13–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/view/165090