ทักษะทางด้านบัญชีของผู้สอบบัญชี ความเป็นมืออาชีพในการสอบบัญชี และผลสำเร็จ ในการสอบบัญชี: หลักฐานจากผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ทักษะทางด้านบัญชีของผู้สอบบัญชี, ความเป็นมืออาชีพในการสอบบัญชี, ผลสำเร็จในการสอบบัญชีบทคัดย่อ
ความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชี ถือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจำเป็นต้องมี ทักษะความรู้ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็นในงบการเงินของผู้รับการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อการตรวจสอบความสัมพันธ์ และผลกระทบของทักษะทางด้านบัญชีของผู้สอบบัญชี ที่มีต่อผลสำเร็จ ในการสอบบัญชี ผ่านตัวแปรกลาง คือ ความเป็นมืออาชีพในการสอบบัญชี งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากผู้สอบบัญชีภาษีอากร และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย แบบสอบถามจำนวน 112 ฉบับที่ตอบกลับมาถูกนำมาใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ทักษะทางด้านบัญชีของผู้สอบบัญชี ด้านทักษะทางวิชาชีพ และด้านทักษะการเรียนรู้ อย่างไม่จบสิ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับความเป็นมืออาชีพในการสอบบัญชี ผลการศึกษายังพบว่า ความเป็นมืออาชีพในการสอบบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับผลสำเร็จของงานสอบบัญชี สำหรับการทดสอบ ความสัมพันธ์ของตัวแปรกลาง พบว่าความเป็นมืออาชีพในการสอบบัญชีไม่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางด้านบัญชี ของผู้สอบบัญชี กับผลสำเร็จในการสอบบัญชี
References
กรมสรรพากร. (2560). ฐานข้อมูลรายชื่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก www.rd.go.th
Alktani, S., & Ghareeb, A. (2014). Evaluation of the quality of the internal auditing position in the public sector in Saudi Arabia: An applied study. Global Review of Accounting and Finance, 5(1), 93–106.
Hannimitkulchai, K., & Ussahawanitchakit, P. (2016). Continuous audit development and audit survival: Evidence from tax auditors in Thailand. The Business and Management Review, 7(5), 487-498.
Hair, J.F., and others. (2010). Multivariate Data Analysis. 6th Ed. New Jersey: Pearson.
Haywood, ME., & Wygal, D.E. (2009). Ethics and professionalism: Bringing the topic to life in the classroom. Journal of Accounting Education, 27, 71-84.
International Education Standard (IES). (2012). www.IFAC.org
Kang, Y.J. and others., (2015). The effect of an Audit Judgment Rule on audit committee members’ professional skepticism: The case of accounting estimates. Accounting, Organizations and Society, 46, 59-76.
Merhout, J.W., & Buchman, S.E. (2007). Requisite skills and knowledge for entry-level IT auditors. Journal of Information Systems Education, 18(4), 469-477.
Ninlaphay, S., & Ussahawanitchakit, P. (2011). Accounting Professionalism, Financial Reporting Quality and Information Usefulness: Evidence from Exporting Firms in Thailand. Journal of International Business and Economics, 11(4).
Nunnally, Jum C., & Bernstein, Ira H. (1978). Psychometric Theory. New York, NY: McGraw-Hill.
Penini, G., and Carmeli, A. (2010). Auditing in organizations: A theoretical concept and empirical evidence. Systems Research and Behavioral Science, 27, 37–59.
Salameh, R., and other. 2011. Alternative internal audit structures and perceived effectiveness of internal audit in fraud prevention: Evidence from Jordanian banking industry. Canadian Social Science, 7(3), 40–50.
Siege. P.H., & O’Shaughnessy, J. (2008). Social skill characteristics that promote successful careers in internal audit. Internal Auditing, 23(1), 26-32.
Smith, G. (2005). Communication skills are critical for internal auditors. Managerial Auditing Journal, 20(5), 513-518.
Thongchai, C., & Ussahawanitchakit, P. (2015). Audit specialization and audit success: an empirical investigation of certified public accountants in Thailand. The Business and Management Review, 7(1), 395-407.
Wangcharoendate, S. (2015). Audit professional learning and the antecedents and consequences: an empirical study of tax auditor in Thailand. The Business and Management Review, 7(1), 143-156.
Wittayapoom, K., & Limanonthachai, T. (2016). Audit knowledge management strategies and audit job performance: A study of tax auditors in Thailand. The Business and Management Review, 7(5), 430-437.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว