การสังเคราะห์รูปแบบการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การสังเคราะห์, ที่สาธารณประโยชน์, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ในการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูแลที่สาธารณประโยชน์ ในพื้นที่จังหวัด ร้อยเอ็ด และเพื่อสังเคราะห์รูปแบบการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 จำนวน 361 คน ได้มาโดยวิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 ได้ดำเนินการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 17 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 18 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี Stepwise กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธี การพรรณนาและอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ระดับประสิทธิภาพในการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมมีค่า ความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ เท่ากับ .475
4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูแลที่สาธารณประโยชน์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีจำนวน 6 ด้าน คือ ปัจจัยด้านทรัพยากร มนุษย์ ปัจจัยด้านกฎหมายและการกระจายอำนาจ ปัจจัยด้านการบริหารและการจัดการ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ และปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ สามารถเขียนสมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน
ได้ดังต่อไปนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = 1.215 + .421 X1 - .359X2 - .375X3 +.427X4 + .314X6 + .215X7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zr = .424Z4 + .345Z6 - .309Z3 - .304 Z2 +.271Z1 + .192Z7
5. รูปแบบการดูแลที่สาธารณประโยชน์ของเทศบาลในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ปัจจัยด้านกฎหมายและการกระจายอำนาจ ปัจจัยด้านการบริหารและการจัดการ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อการดูแลที่สาธารณประโยชน์ ในด้านการดูแลรักษา และคุ้มครองป้องกัน ด้านข้อพิพาทและคดีเกี่ยวกับที่ดิน ด้านการจัดทำทะเบียนที่ดิน ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ที่ดินและด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโดยในการดูแลที่สาธารณประโยชน์ของเทศบาลในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้ต้อง คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการดูแลที่สาธารณประโยชน์ เช่น ปัจจัยในด้านเศรษฐกิจและสังคม การทับซ้อนพื้นที่ความเชื่อ และด้านประเพณีของท้องถิ่นและบริบทของแต่ละพื้นที่ด้วยและการที่เทศบาลจะเพิ่มประสิทธิภาพในดูแล ที่สาธารณประโยชน์ ควรให้ความสำคัญกับการรังวัดสอบเขตที่สาธารณประโยชน์ การสร้างองค์ความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึก ร่วมกันในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชนควบคู่ไปกับการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร จัดการเรื่องนี้ด้วย
References
จักรพงษ์ พวงงามชื่น, สวิชญา ศูภอุดมฤกษ์ ตรีรัตน์ และนคเรศ รังควัต. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดการป่าชุมชนกรณีศึกษา บ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ฐิดารัตน์ ศรีวัฒนพงศ์. (2553). ประชาธิปไตยที่กินได้ : ศึกษากรณีการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการบริหารจัดการทรัพยากร ป่าชุมชนดงภูโหล่นของหมู่บ้านโนนศาลา ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทวีชัย ใจพร. (2552). การจัดการป่าชุมชนโดยชุมชน : กรณีศึกษาป่าชุมชนดงบก บ้านโพนหนองสิม ตำบลเขิน อำเภอ น้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี: อุบลราชธานี.
ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ. (2551). ภูมิปัญญาบูรณาการในการจัดการป่าชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาป่าชุมชน โคกหินลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ไพโรจน์ มันมิ่ง. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการพื้นที่ป่าสาธารณะของชุมชนบ้านห้วยโตก ตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
วัลลภ เกตุวิเชียร. (2556). ปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาลตำบลเมืองเวียง ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรนรินทร์ สันติสุขคง. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาตำบล ของคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2542). ทฤษฎีและแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมประสงค์ วงษ์แสวง. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกันขององค์การบริหารส่วนตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ.
สุดารัตน์ กิมศิริ. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อนัญญา ผมทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัด นครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Thai lawyers for human rights Word Press.com. (2559). สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2559 จาก https://tlhr2014.wordpress.com
Yamane Taro. (1973). Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว