การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ใน การจัดการภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • ศิเรมอร ยงพานิช นักวิชการอิสระ

คำสำคัญ:

การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน, การจัดการภาครัฐ, ความร่วมมือ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน เป็นการจัดความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบด้านบริการสาธารณะ กับภาคสังคมที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (2) ความแตกต่างของแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับแนวคิดความร่วมมืออื่น และ (3) การประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันในประเทศไทย

ระเบียบวิธีการวิจัย: บทความนี้เป็นบทความวิชาการ ใช้การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประเด็นที่กำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่อธิบายถึงความสำคัญของแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน และแนวทางที่นำมาใช้ในการจัดการภาครัฐของประเทศไทย

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า (1) การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันเป็นการยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐกับสังคม ที่เปิดกว้างในการคิด และการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม (2) การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน ศึกษาเรื่องผลประโยชน์ที่ทุกฝ่ายได้รับร่วมกัน โดยทุกฝ่ายต้องร่วมในประเด็นสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม และสร้างฉันทามติร่วมกัน และ (3) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ โดยนำแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน มาสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐกับสังคมในฐานะพลเมืองที่ร่วมคิดและตัดสินใจ

สรุปผล: การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน เป็นการดำเนินงานที่ยืดหยุ่นและเปิดกว้าง โดยรัฐเป็นผู้เอื้ออำนวยความร่วมมือ และสร้างพลเมืองที่ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมเป็นภาคีหุ้นส่วน โดยรัฐต้องเปิดโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำประเด็นสาธารณะที่สำคัญ เพื่อลดความขัดแย้งและทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน

References

ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์. (2560). การจัดการปกครองแบบประสานความร่วมมือ (collaborative governance) : แนวคิด วรรณกรรมคัดสรร และความสำคัญ.

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 286-298.

ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2567). การบริหารปกครองแบบร่วมมือในการดำเนินงานศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ.สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 30(1), 17-30

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล. (2566). Governance 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

พัชราภา ตันตราจิน. (2563). บทความปริทัศน์: การจัดการปกครองแบบร่วมคิดร่วมทำ (Collaborative Governance): ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างและการนำไปปฏิบัติ.วารสาร เศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 139-162.

พัชรี สิโรรส และพรทิพย์ แก้วมูลคำ. (2560). การบริหาราชการแบบมีส่วนร่วม. วารสารการจัดการ ภาครัฐและเอกชน, 24(2), 139-160.

วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2563). การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดิน และแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อน ภารกิจของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.(2566). (ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2567-2570. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

สุริยานนท์ พลสิม. (25666). ภาคีภิบาล: แนวคิดพื้นฐานและแนทางการศึกษาวิจัยในอนาคต.

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 40(2), 196-218.

Ansell, C., & Gash, C. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(1), 543-571.

Emerson, K., Nabatchi, T., & Balogh, S. (2011). An Integrative Framework for Collaborative Governance. Journal of Public Administration Research and Theory, 22(1), 1-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-24

How to Cite

ยงพานิช ศ. (2025). การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ใน การจัดการภาครัฐ. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 387–400. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/285871

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ