การพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
กระบวนการทางภูมิศาสตร์, ความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY), การคิดอย่างเป็นระบบบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) เป็นความรู้พื้นฐานของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อแสวงหาความรู้ และตอบคำถามความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก การพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในวิถีของการเป็นพลเมืองโลกที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ผู้เรียนตระหนักในการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ปีการศึกษา 2567 จำนวน 22 รูป ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ จำนวน 7 แผน 2) แบบวัดความฉลาดรู้ทาภูมิศาสตร์ เชิงสถานการณ์ จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบลำดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน
ผลการวิจัย: 1) ผลการสร้างและหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า แผนการเรียนรู้ที่ 2, 3, 4, 5 และ 6 อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 และ 2 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด
สรุปผล: แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางภูมิศาสตร์ (GEO LITERACY) โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เป็นวิธีสอนที่สามารถพัฒนาความสามารถของนักเรียนให้สูงขึ้นได้ และเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สามารถสร้างความพึงพอใจที่ดีแก่ผู้เรียนได้อีกด้วย
References
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ Geo-Literacy Learning for Our Planet ถอด บทเรียน ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตร แกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กิตติคุณ รุ่งเรือง. (2556). การจัดการเรียนการสอนสาระภูมิศาสตร์ = the Management of Geography Instruction. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ วิทยารัฐ. (2547). ภูมิศาสตร์ปกิณกะ เล่มที่ 2 72 ปี ปูชนียาจารย์. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.
สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
อรรถพล อนันตวรสกุล. (2561). มโนทัศน์พื้นฐานในการสอนภูมิศาสตร์. เอกสารประกอบการ อบรมเชิงปฏิบัติการ Geo literacy สำหรับครูสังคม จัดโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ: ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยาม บรมราชกุมารี.
Danaher, M. (2012). Community, environment and teaching geography. Geographical Education, 25 (July) (7-14).
ESRI Schools and Libraries Program. (2003). Using the Geographic inquiry Process to Understand You Environment. Accessed July 8. Available from https://education.ocean.org/selfdirected/resources/get/200791/Sec.%20GeoInquiry_Overview. Pdf.
Jaszewski, J., & and Teng, S. e. a. (2011) . WHAT IS GEOGRAPHY. Accessed July 8. Available from http://nationalgeographic.org/education/what-is- geography/Karen A. Thomas-Brown (2011)
National Geographic Education. 2015. What is geo-literacy? [online]. http://educational.nationalgeographic.com2media/what-is-geoliteracy. (last accessed 5 March 2018).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ