การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำ บริษัท XYZ จำกัด
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, สมรรถนะผู้นำ, การฝึกอบรมบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร เพราะผู้นำมีบทบาทในการกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ในองค์กร รวมถึงการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อกำหนดสมรรถนะภาวะผู้นำ บริษัท XYZ จำกัด และ (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำ บริษัท XYZ จำกัด
ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลเพื่อกำหนดสมรรถนะภาวะผู้นำ โดยศึกษาจากเอกสารงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศเกี่ยวกับสมรรถนะภาวะผู้นำ และทำสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางภายในองค์กร เพื่อกำหนดสมรรถนะภาวะผู้นำที่องค์กรต้องการ ระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมภาวะผู้นำ บริษัท XYZ จำกัด ตามสมรรถนะภาวะผู้นำที่กำหนดไว้
ผลการวิจัย: พบว่า ในระยะที่ 1 เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อกำหนดสมรรถนะภาวะผู้นำของพนักงานระดับหัวหน้างาน ฝ่ายผลิต บริษัท XYZ จำกัด โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง 1 ท่าน ตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป และผู้บริหารระดับกลาง 7 ท่าน ตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาสรุปได้สมรรถนะ 3 ด้าน กล่าวคือ (1) การทำงานอย่างมีเป้าหมาย (2) การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ (3) การสร้างผลงานแบบทีมที่เป็นเลิศ และในการทำวิจัยในระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม สามารถแบ่งการพัฒนาหลักสูตรออก 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) จัดทำโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม (2) การประเมินองค์ประกอบของหลักสูตร และ (3) การปรับปรุงโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 70:20:10 ในด้านการเรียนรู้และพัฒนา
สรุปผล: การพัฒนาความรู้บุคลากรให้สอดคล้องกับสมรรถนะในงานวิจัยที่ศึกษานี้ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรมและกิจกรรม ความสอดคล้องของแนวคิดที่ใช้กับกิจกรรมหลักสูตรการฝึกอบรม ความครอบคลุมของเนื้อหาสาระ ระยะเวลาที่ใช้ในหลักสูตรการฝึกอบรม ความเหมาะสมของวิธีการเรียนรู้ และความเหมาะสมของแนวทางการประเมินผลของทุกสมรรถนะ สามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมพนักงานระดับหัวหน้างาน ฝ่ายผลิต บริษัท XYZ จำกัด ได้ตามวัตถุประสงค์งานวิจัย
References
กรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). แนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมเบเกอรี่จีน. ออนไลน์. สืบค้น เมื่อ 17 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://ditp.go.th/ewt_news_ditp2.php?content= 614032&cate=762&d=.
จรุงรัตน์ วรรณสิทธิ์, อัครนันท์ พงศธรวิวัฒน์ และชวลิต จีนอนันต์. (2562). ตัวแบบการตัดสินใจเชิงภาษาแบบ 2-Tuple สาหรับปัญหาการตัดสินใจแบบหลายเงื่อนไข กรณีศึกษา การคัดเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์สาหรับอุตสาหกรรมเบเกอรี่. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์, 4(2), 31-45.
นิศาชล คะนองดี และพัชรา วาณิชวศิน. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ 70:20:10 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมสำหรับพนักงาน บริษัทไฮ-เทค แอพพาเรล จำกัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 240-253.
ปรัชญา บุตรสะอาด. (2566). ภาวะผู้นำตามคุณลักษณะผู้นำที่ดี. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(4), 43-58.
ราเชนทร์ ผดุงพร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำฝ่ายขายระดับภาค บริษัท ABC ประกัน ชีวิต จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต]. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์.
วรงค์ ภู่ระหงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคขนมอบของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วันเพ็ญ วัตนกุล. (2567). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรุงเทพมหานครสามัญ. วารสารสห วิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(1), 270-283.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2563). ตลาดขนมอบในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php? id=286.
สิริวดี ชูเชิด. (2565). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ. วารสารวไลย อลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 223-238.
Ash, R.C., & Persall, J.M (1999). The principal as chief leaning officer. National Association of Secondary School Principals. Samford University. Birmingham, Alabama. U.S.A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ