แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิด ในคดีทางเพศต่อเด็ก

ผู้แต่ง

  • สมบัติ เลนคำมี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พจ ตู้พจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พงษ์เมธี ไชยศรีหา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภาณุวัฒน์ กิตติกรวรานนท์ รัตนพิมลแสน มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ประมุข ศรีชัยวงษ์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชาย, โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัย, ความเหมาะสมกับบริบท

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เรือนจำมีหน้าที่บริหารโทษผู้กระทำผิด รวมถึงคดีความผิดทางเพศ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ล่วงละเมิดเด็ก ซึ่งมักเป็นคนใกล้ชิด ปัญหานี้เพิ่มขึ้นจากปัจจัยทางสังคมและสิ่งเร้าต่าง ๆ การศึกษานี้มุ่งหาแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องขังสูงอายุให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน เพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำหลังพ้นโทษ การวิจัยเรื่อง แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก และ 3) เพื่อประเมินผลรูปแบบโปรแกรมการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก ระเบียบวิธีการวิจัย: ทำการเก็บข้อมูลจากแบบการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างจากผู้สูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก ที่สมัครใจให้ข้อมูลสาเหตุจูงใจต่อการกระทำความผิด จำนวน 15 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 12 คน ในการพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็กที่มีความเหมาะสมกับบริบท และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน เพื่อประเมินรูปแบบโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมที่มีความเหมาะสมกับบริบท วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพข้อมูลพื้นฐานของผู้กระทำความผิดมีอายุระหว่าง 61 - 77 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อาชีพทำการเกษตร มีรายได้ต่อเดือนไม่ถึง 10,000 บาท ด้านสภาพครอบครัว มีฐานะยากจน มีรายได้ต่ำไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย พ่อ แม่เด็กเดินทางไปทำงานต่างถิ่น และฝากให้ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นผู้เลี้ยงดูลูก ด้านด้านสภาพสังคมและชุมชน เป็นชุมชนชนบทที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของชุมชนเป็นสังคมแหว่งกลาง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนการเปลี่ยนไปสู่ชุมชนเมือง ที่มีค่าครองชีพสูงและพึ่งพาภายนอกมากขึ้น ด้านสภาพความสัมพันธ์กับเด็ก พบว่ามีความสัมพันธ์ในฐานะญาติ คนใกล้ชิดที่เด็กรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่เคยเลี้ยงดูมา ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดการกระทำความผิดพบว่ามาจากผู้กระทำความผิดเองที่ใช้สารเสพติด มึนเมา และบางรายพบว่ามีสภาพผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีความปลอดภัยต่อเด็ก ขาดการปกป้องจากพ่อ แม่เด็กที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และปัจจัยจากตัวเด็ก

สรุปผล: ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก ให้นำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤตินิสัยของกรมราชทัณฑ์ มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทโดยให้นำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชุมชนภายหลังการพ้นโทษ จำนวน 7 โปรแกรม โดยผลการประเมินพบว่าระดับความเหมาะสมของโปรแกรมการพัฒนาพฤตินิสัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิดในคดีทางเพศต่อเด็ก เรือนจำกลางขอนแก่น ในภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.467) ซึ่งโปรแกรมด้านศีลธรรมและจริยธรรม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.600) รองลงมาได้แก่โปรแกรมการศึกษาทักษะการดูแลตนเอง (X ̅ = 4.567) โปรแกรมพัฒนาจิตใจ (X ̅ = 4.480) โปรแกรมพื้นฐานฝึกอาชีพ ( X ̅ = 4.467) โปรแกรมอบรมการหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดทางเพศของผู้สูงอายุชาย (X ̅ = 4.433) โปรแกรมอบรมผู้สูงอายุชายที่กระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก (X ̅ = 4.400) และโปรแกรมชุมชนบำบัด (X ̅ = 4.324)

References

กัญญารัตน์ วิภาตะวัต, ภัทรานิษฐ์ เยาดำ และบัณฑิต หอมเกษ. (2559). แนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. นนทบุรี: มาตา.

พวงเพ็ญ ใจกว้าง. (2542). ปัจจัยทางสังคมและการข่มขืนเด็กโดยผู้ต้องขังชาย: กรณีศึกษาเรือนจำกลางอุดรธานี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิมิต ทัพวนานต์.(2560). การพัฒนาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ไม่มีญาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.

โรงพยาบาลพญาไท, ศูนย์สุขภาพเด็กและวัยรุ่น. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก. สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2568, จาก www.thaichildprotection.com

พุฒิพงศ์ พุทธวงศ์, ณิช วงศ์ส่องจ้า และ ณรงค์ กุลนิเทศ. (2562). ปัจจัยของการก่ออาชญากรรมทางเพศและหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ในการพิจารณาคดีข่มขืน. วารสารอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 5(2), 196-208.

ปัญญา จิตรจักร.(2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในเรือนจำขอนแก่น.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธานี วรภัทร์.(2555). กฎหมายว่าด้วยการบังคับโทษจำคุก. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ธานี วรภัทร์.(2553). กฎหมายว่าด้วยการบังคับโทษจำคุก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-01

How to Cite

เลนคำมี ส. ., ตู้พจ พ., ไชยศรีหา พ. ., รัตนพิมลแสน ภ. ก. ., & ศรีชัยวงษ์ ป. . (2025). แนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ต้องขังสูงอายุชายที่กระทำความผิด ในคดีทางเพศต่อเด็ก. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 219–234. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/285203