ความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ สังกัดกองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ กองพลทหารช่าง หลังปลดจากกองประจำการ

ผู้แต่ง

  • ดลธรรม ทับพิจายะ Suan Sunandha Rajabhat University
  • วัลลภ พิริยวรรธนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, คุณภาพชีวิต, ทหารกองประจำการ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ทหารในประเทศไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและการพัฒนาของชาติ ตั้งแต่การปกป้องเอกราชในยุคก่อตั้งประเทศ ไปจนถึงการป้องกันอำนาจอธิปไตยจากการรุกรานของต่างชาติ รวมถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยและการช่วยเหลือประชาชนในยามที่เกิดภัยพิบัติ บทบาทดังกล่าวไม่เพียงจำกัดอยู่ในภารกิจทางการทหาร แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในช่วงเวลาที่ประเทศสงบสุขด้วยทหารกองประจำการ ดังนั้นทหารกองประจำการจึงเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติบ้านเมืองที่ได้เสียสละประโยชน์ส่วนตนในการทำหน้าที่รับใช้ชาติ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าทหารกองประจำการสังกัดกองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ กองพลทหารช่าง จะมีความคาดหวังในการดำเนินชีวิตหลังปลดประจำการอย่างไร การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิต หลังปลดจากกองประจำการ  2. ระดับความคาดหวังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต หลังปลดจากกองประจำการ

ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 280 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20-22 ปี ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ที่ กรุงเทพและปริมณฑล สถานภาพครอบครัวโสด มีรายได้ก่อนเข้ารับราชการต่ำกว่า 10,000 บาท อาชีพรับจ้างทั่วไป และมีวิธีการเข้ารับราชการในกองประจำการด้วยความสมัครใจ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิต หลังปลดจากกองประจำการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล อายุ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน สถานภาพครอบครัว รายได้ก่อนเข้ารับราชการ และวิธีการเข้ารับราชการในกองประจำการ ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิต  หลังปลดจากกองประจำการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่อาชีพก่อนเข้ารับราชการที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิตหลังปลดจากกองประจำการไม่แตกต่างกัน

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). กองทัพบก" เปิดรับสมัครคัดเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ โดยวิธีร้องขอ (กรณีพิเศษ) ด้วยระบบออนไลน์ ประจำปี 2567. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2567 จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/214088.

กัลยา สูงสว่าง และปิยากร หวังมหาพร. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารประทวน: กรณีศึกษาหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 14(2), 41–56.

ณัฐพล ไกรวาส. (2560). คุณภาพชีวิตของนายทหารชั้นประทวน กองพันทหารช่างที่ 2 รักษาพระองค์. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. หน้า 53.

ผดาสวัสดิ์ วุฒิมานานนท์. (2560). คุณภาพชีวิตทหารเกณฑ์หลังปลดประจำการ: ศึกษากรณีทหารเกณฑ์ที่มีภูมิลำเนาในอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(3), 33–38.

วรกร ภวังคะนันท์. (2564). แนวทางการพัฒนาการศึกษาเพิ่มเติมของทหารประจำการ (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล). วิทยาลัยกองทัพบก.

วิจักษณ์ ใหญ่เลิศ และคณะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 16 จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 1–10.

สันทัด โพธิสา. (2567, 2 เมษายน). การเกณฑ์ทหารทั่วโลก: ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.thaipbs.or.th/now/content/1016

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร. (2566, 9 พฤศจิกายน). ผู้บัญชาการทหารบกที่ 2 มอบบ้านให้ทหารเกณฑ์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2567 จาก https://sakonnakhon.prd.go.th/th/content/category/detail/id/57/iid/231134

สุพรรณี ไชยอำพร และสนิท สมัครการ. (2534). คุณภาพชีวติของคนไทยเปรียบเทียบระหว่างเมืองกับชนบท: รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

หยุด แสงอุทัย. (2556). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรรัตน์ มุ่งมี และณัฐวุฒิ ฮันตระกูล. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทหารกองประจำการสังกัด กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะบริหารธุรกิจ, วิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research. (2)2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28

How to Cite

ทับพิจายะ ด., & พิริยวรรธนะ ว. . (2025). ความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ สังกัดกองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ กองพลทหารช่าง หลังปลดจากกองประจำการ. Journal for Developing the Social and Community, 12(1), 145–160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/285127