การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านคำยาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
การเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC, แบบฝึก, ความสามารถด้านการอ่านคำยากบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การอ่านเป็นการแสวงหาความรู้ที่สำคัญยิ่ง เพราะการอ่านคือการเพิ่มความรู้และประสบการณ์การอ่านเป็นการรับรู้ข้อความ ผู้อ่านต้องทำความเข้าใจความหมาย และเจตนาของผู้สื่อพร้อมทั้งวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่ได้จากการอ่านเพื่อตัดสินใจว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ การอ่านจึงมีความสำคัญต่อบุคคลคือช่วยพัฒนาความคิดในด้านต่างๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คำยากโดยใช้การเรียนรู้เทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านคำยาก โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองไผ่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 6 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แผนละ 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการอ่านคำยากของนักเรียนมีประสิทธิภาพ (E.1/E.2) เท่ากับ 80.71/86.19 ซึ่งตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ความสามารถด้านการอ่านคำยาก โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 0.6585 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนรู้การอ่านคำยากโดยใช้ การเรียนรู้เทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึก มีความรู้เพิ่มขึ้น 65.85 สูงกว่าก่อนเรียน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 2.63)
สรุปผล: การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ประกอบแบบฝึกช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลัก สูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
คำใบ ไชยสิงห์. (2553). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. [วิทยานิพนธ์ ค.ม]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิราภา จันทพัฒน์. (2550). ศึกษาผลการใช้วิธีการสอนแบบ CIRC มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นิลวรรณ ชูวิวัฒน์รัตนกุล. (2554). การพัฒนาการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนสื่อความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับชุดกิจกรรม.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ประนอม แดงงาม. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค L T สาระการเรียนรู้ภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
พินิจ จันทร์ซ้าย. (2546). การสร้างหนังสือและแบบฝึกทักษประกอบการเรียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง บุญผะเหวดร้อยเอ็ด แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2536). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุรีรัตย์ แย้มศรี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้การเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD วิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุวิมาลย์ ยืนยั่ง. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อมรรัตน์ ชลพัฒนา. (2554). ผลการใช้แบบฝึกทักษะเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำที่ประสมสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อัมรา ศรีเกิน. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มแข่งขันตามผลสัมฤทธิ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อำนวย เลื่อมใส. (2546). การสร้างหนังสือและแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนภาษาไทย เรื่อง ผาน้ำอ้อย แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Johnson, D.W. and Johnson, R.T. (1996). Meaningful and Manageable Assessment. Cooperative Learning. Minnisota: Interaction Book Company.
Joyce, R & J.M. Weil. (1986). Model of Teaching. New York: Prentic-Hall.
Slavin. (1995). Cooperative Learning:Theory, research and practice. (2nd ed). Massachusetts: Simon& Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ