รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย ของผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
อินฟลูเอนเซอร์ผู้สูงวัย, การสื่อสารสุขภาพ, โรคในผู้สูงวัย, รูปแบบการนำเสนอบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: สังคมผู้สูงวัยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ผู้สูงวัยขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ และโฮมแคร์ นอกจากนี้ ผู้สูงวัยยังเริ่มใช้งานสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสทางการตลาดแบบอินฟลูเอ็นเซอร์ที่เน้นความน่าเชื่อถือและเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะด้านสุขภาพ การทำความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบเนื้อหาเพื่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบการนำเสนอของด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงวัยของผู้มีอิทธิพลทางความคิด
ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการเก็บตารางในการเก็บข้อมูล (Coding sheet) รูปแบบนำเสนอ โดยใช้วิธีการสุ่มการกำหนดสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน (Multistage cluster sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างอินฟลูเอนเซอร์ทั้งหมดแบ่งจาก 4 กลุ่ม เป็น 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ จำนวน 3 คน และ มาโครอินฟลูเอนเซอร์ จำนวน 3 คน
ผลการวิจัย: พบว่าผู้มีอิทธิพลทางความคิดมีรูปแบบการนำเสนอและเทคนิคการนำเสนอที่ผสมผสานกันหลากหลายรูปแบบ ผู้นำเสนอข้อมูลด้วยลีลาไม่เน้นการขาย (Soft sell) จะเป็นการให้ความรู้ข้อมูลด้านสุขภาพ เน้นการขาย (Hard sell) จะนำข้อมูลด้านราคาของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ลักษณะเนื้อหาคอนเทนต์แบบยาว มีการนำเสนอในลักษณะการพรรณนาเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจสิ่งที่จะนำเสนอมากขึ้นและ คอนเทนต์แบบสั้น จะนำเสนอในเวลาอันสั้น
สรุปผล: การวิจัยนี้สรุปได้ว่า ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดใช้กลยุทธ์ในการนำเสนอข้อมูลเชิงสาระเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย โดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและให้รายละเอียดครบถ้วน เช่น การติดต่อ ผลิตภัณฑ์ และราคา เพื่อความชัดเจนและเข้าถึงง่าย นอกจากนี้ยังใช้การชักจูงด้วยเหตุผลและหลักฐานทางสังคมเพื่อสร้างความไว้วางใจ รวมถึงการดึงดูดเชิงอารมณ์เพื่อเชื่อมโยงกับผู้ชม ผลวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงกลยุทธ์การสื่อสารหลายมิติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงวัย
References
กานต์พิชชา ศุภฤกษ์สกุล. (2561). ทัศนคติ และความสนใจของผู้สูงอายุที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผ่านการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) กรณีศึกษาช่องทาง Facebook ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ และสมาน ลอยฟ้า. (2560). รูปแบบการนำเสนอเว็บที่ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ กรณีศึกษาผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารนวัตกรรมสังคมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 11(3), 276-192.
นริศรา แก้วบรรจักร, ประไพจิตร ชุมแวงวาปี และกฤชกันทร สุวรรณพันธุ์. (2020). ปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 1-15.
พรเพ็ญ สระทองกลัด และวสันต์ สกุลกิจกาญจน์. (2565). คุณค่าตราสินค้า การรับรู้ ผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนสื่อสังคม ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดของนักท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน, 7(3), 674-686.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงวัยไทยสถานการณ์ผู้สูงวัยไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงวัยไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงวัยไทยสถานการณ์ผู้สูงวัยไทย.
เอริสา ยุติธรรมดำรง, สุริย์วิภา ไชยพันธุ์ และเบ็ญจวรรณ ลี้เจริญ. (2566). การดำเนินการทางการตลาด 4.0 ของธุรกิจอาหารเสริมและเครื่องดื่มสุขภาพ สำหรับผู้บริโภคสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(1), 188-202.
Backaler, J. (2017). Digital Influence: Unleash the Power of Influencer Marketing to Accelerate Your Global Business. Scotland: the registered company Springer International Publishing AG part of Springer Nature.
McCorqoudale, S. (2020). Influence: How social media influencers are shaping our digital future. Bloomsbury Business. United Kingdom.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ