การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คำสำคัญ:
คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ช่วงชั้นของผู้เรียน, เพศของผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำแนกตามเพศและช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวนนักเรียน 131 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 8 ด้าน เป็นแบบวัดเชิงสถาณการณ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 36 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20-0.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test independent)
ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 2.54. S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงสุดได้แก่ ด้านที่ 5 อยู่อย่างพอเพียง ( = 2.62. S.D.= 0.50) รองลงมาได้แก่ ด้านที่ 3 มีวินัย ( = 2.60. S.D.= 0.59) ส่วนด้านที่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่ำสุดได้แก่ด้านที่ 7 รักความเป็นไทย ( = 2.38. S.D.= 0.59) (2) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวมระหว่างเพศชายและเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีแนวโน้มคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าเพศชาย และผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวมระหว่างช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแนวโน้มคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
References
Chatiyanon, B. (2018). "A Study of the Desirable Characteristics of Students at the Demonstration School of Silpakorn University." Veridian E-Journal. Silpakorn University. Thai Edition in the field of Humanities. Social Sciences, and Arts,11(3), 2284-2299.
Kaemmani, T. (2017). 14 Teaching Methods for Professional Teachers (13thed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Nao Saeng, T. (2018). Desirable characteristics of Grade 9 students at Suankularb Wittayalai Chonburi School under the Secondary Education Service Area Office 18. (Master’s Thesis). Burapha University. Faculty of Education, Educational Administration Program.
Office of Academic and Educational Standards. Office of Basic Education Commission. Ministry of Education. (2010). Guidelines for developing measurement and evaluation of desired characteristics according to the National Curriculum for Basic Education B.E. 2551. Bangkok: Office of Academic and Educational Standards.
Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act B.E. 2542 and Amendments (No. 2) B.E. 2545. Bangkok: Office of the National Education Commission.
Worakawin, K. (2017). The Roles and Responsibilities of Youth Towards Society and the Nation with a Focus on Public Mind. In Textbook for the Basic Social Studies. Religion.and Culture Curriculum According to the National Core Curriculum for Basic Education B.E. 2551 (Revised Edition B.E. 2560). Grade 1 of Lower Secondary School. Bangkok: Panya Wichakan Publishing Co. Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ