การศึกษา การรับรู้ ความต้องการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรของผู้บริโภค ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วารีรัฐ สังวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • แดนวิชัย สายรักษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความต้องการ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม, ชุมชน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังดำเนินการปฏิรูปประเทศในทุกมิติของการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1)เพื่อศึกษา การรับรู้ ความต้องการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรของผู้บริโภค ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรของผู้บริโภค ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากร เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักผู้ให้ข้อมูล มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา จำนวน 65 คน โดยแบ่งเป็นช่วงอายุ 20-30 ปี 31-40 ปี 41-50 ปี 51-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ช่วงอายุละ 13 คน จากจำนวน 13 หมู่บ้าน ซึ่งอาศัยในพื้นที่และซื้อผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรและผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้ประกอบการผลิตปลาส้มสมุนไพร ซึ่งมาจากการสุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเจาะจง โดยคัดเลือกจากผู้สมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ โดยรวมรู้จักปลาส้มสมุนไพร มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.46          ไม่รู้จักปลาส้มสมุนไพร คิดเป็นร้อยละ 41.54 ส่วนระหว่างช่วงอายุ อายุ 61 ปีขึ้นไป รู้จักปลาส้มสมุนไพร มากที่สุด และระหว่างช่วงอายุ 20-30 ปี ไม่รู้จักปลาส้มสมุนไพร มากที่สุด 2) ความต้องการ ให้มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย และสวยงาม มีตราสัญลักษณ์ (โลโก้) ติดให้ชัดเจน 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรของผู้บริโภคได้กลยุทธ์การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพร ดังนี้ ปลาส้มตัว ปลาส้มแผ่น ปลาส้มชิ้น/ปลาส้มสับ ปลาส้มฟัก/ปลาส้มบด ปลาส้มเส้น และได้กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการตลาด การบรรจุภัณฑ์          และตราสัญลักษณ์ โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) เทคโนโลยีการพิมพ์ 2) เทคโนโลยีการพัฒนาทางด้านวัสดุ 3) เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ          

สรุป ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ปลาส้มสมุนไพร/ความต้องการปลาส้มสมุนไพรของผู้บริโภค โดยแยกตามช่วงอายุ พบว่า ช่วงอายุที่มีการรับรู้ปลาส้มสมุนไพรปริมาณมากที่สุด คือ อายุ 61 ปี ขึ้นไป และมีความต้องการปลาส้มสมุนไพรมากที่สุดเช่นกัน ส่วนช่วงอายุที่มีการรับรู้ปลาส้มสมุนไพรปริมาณน้อยที่สุด คือ อายุ 21-30 ปี และมีความต้องการปลาส้มสมุนไพรน้อยที่สุด

References

Boonchutima, S. & Rungwimonsin, R. (2017). Creative strategies for marketing communication. Bangkok: 21 Century.

Chamnian, M. (2023). A study of the perception, needs and development of brand communication of fish in a net, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Humanities and Social Sciences Ubon Ratchathani Rajabhat University, 15(1),75-96.

Khare and Singh. (2020). Effect of Covid-19 on brands communication strategy impact. International Journal of Research in Business (Management IMPACT: IJRBM), 8(12), 1–8.

Naranan, N. (2017). A study of local wisdom of sour fish: A case study of Ban Batupute, Ko Libong Subdistrict, Kantang District, Trang Province. Thammasat University.

Phanak, R. et al. (2022). Developing herbal fermented fish products according to community lifestyles and training in local wisdom based on the sufficiency economy and creative economy in Lahan Subdistrict, Chaturas District, Chaiyaphum Province. MCU Journal Ubon Paritta, 7(2), 1021-2030.

Tan Duang, P. (2022). The best of Thung Song District, fish in a net. [Online]. https://nakhonsistation.com/tag/ปลาใส่อวน-ปลาส้มปขสทย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13

How to Cite

สังวงศ์ ว., & สายรักษา แ. (2024). การศึกษา การรับรู้ ความต้องการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มสมุนไพรของผู้บริโภค ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 607–624. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/283449