การพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาเพื่อส่งเสริมเครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคม ในการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ

ผู้แต่ง

  • อัจฉริยะ วะทา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • วารินทิพย์ ศรีกุลา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา, เครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคม, การพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทรัพยากรสาธารณะซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรสาธารณะอื่นๆได้ถูกบุกรุกทำลายเป็นอย่างมากทั่วประเทศ จึงมีความพยายามที่แก้ไขปัญหานี้ทั้งจากองค์กรภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์                 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ 2.เพื่อทดลองใช้หลักสูตรหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและชุดความรู้ตามเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะของผู้นำเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคม 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคมในการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ ด้วยกระบวนการฝึกอบรมผู้นำเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคม โดยศึกษาเปรียบเทียบความรู้ เจตคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับ 1) ภาวะผู้นำกับการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ 2) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม 3) ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต 4) พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม และ 5) การเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริต และ 4.เพื่อประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำไปประยุกต์ใช้และการวิจัยครั้งต่อไป

              กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำเครือข่ายประชาสังคม จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและการป้องกันการทุจริต แบบวัดเจตคติต่อหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและการป้องกันการทุจริต แบบวัดการปฏิบัติตามหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและการป้องกันการทุจริต และแบบประเมินความสอดคล้อง ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้ 1) นำแบบทดสอบไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มผู้นำองค์กรชาวบ้านที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน 2) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อคำถามเป็นรายข้อ (Item Total) โดยใช้เทคนิค 27% ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยรายข้อด้วยสถิติทดสอบที (t- test) และหาค่า r - Item Total (Corrected Item Total Correlation) จากนั้นคัดเลือกข้อมูลที่มีค่าอำนาจจำแนกสูงรายข้อตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปเป็นแบบทดสอบที่จะนำไปใช้จริง พบว่า แบบทดสอบความรู้มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.29 – 0.69 ค่าความยากง่ายรายข้อตั้ง 0.26-0.70 และค่า KR20 เท่ากับ 0.79 แบบวัดเจตคติ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.34 – 0.78 และค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่า Coefficient Alpha) เท่ากับ 0.77 และแบบวัดพฤติกรรมมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.30– 0.77 และค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient Alpha) เท่ากับ 0.88 และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t – test

            ผลการวิจัยพบว่า 1. วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 รูปแบบสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะในจังหวัดมหาสารคาม โดยเครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคมคือ การฝึกอบรมผู้นำเครือข่าย โดยใช้ชุดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาที่พัฒนาปรับปรุงแล้ว ประกอบด้วย 4 ขั้น ตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา แนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อสำรวจความจำเป็นของการสร้างรูปแบบในการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ ขั้นตอนที่ 2 สร้างชุดความรู้จากการพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้ชุดความรู้ที่ได้จากพัฒนาจากหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลชุดความรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะโดยเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคมโดยผ่านกระบวนการฝึกอบรม เนื้อหาของชุดความรู้ประกอบด้วยสาระ 5 หน่วยคือ 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะผู้นำกับการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ 2) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม 3)ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต 4) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม และ 5) ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริต 2. วัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 ผลการทดลองใช้หลักสูตรหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาและชุดความรู้ตามเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้ เจตคติและการปฏิบัติโดยรวมหลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นจากก่อนฝึกอบรม (p–value < .05) 3. วัตถุประสงค์ ข้อที่ 3 ผลการพัฒนาศักยภาพผู้นำเครือข่ายป.ป.ช.ภาคประชาสังคมในการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะเชิงพฤติกรรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรรมการการอนุรักษ์ทรัพยากรสาธารณะ หลังการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นทุกข้อ (p-value < 0.001) และ 4.วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 การประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ พบว่า 1) ผู้เข้าร่วมเวทีมีความพึงพอใจในกระบวนการมีส่วนร่วมสูงมากc]tให้มีการนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด                                     

References

Achinsamachar, C. (2011). Team management skills. Bangkok: Expertnet Co., Ltd.

Boonyatharokul, W. (2002). Trainer and Training Manager Manual. Bangkok: Dansuttha Printing.

Chirasujarittham, W. (2010). Development of supplementary courses to develop leadership skills for youth in Catholic vocational schools. Ph.D. Thesis (Educational Administration). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Chongwisan, R. (2000). The results of transformational leadership training for Kasetsart University student leaders. Ph.D. Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University Prasarnmit.

Cohen, H.G. (1992). “Two Teaching Strategies : Their Effectiveness with Students of Varying Cognitive Abilities. School Science And Mathematics, 92(3), 26-133.

Khecharanan, N. et al. (2011). Building an effective team. Bangkok: Expertnet.

Kitcharoen, S. (2001). Development of service team. Bangkok: Expertnet.

Lakkhananukul, J. (2002). The results of the development of environmental education activities using action research procedures for Mathayom 2 students. Thesis (Master of Science Education). Khon Kaen University: Office of Academic Resources, Khon Kaen.

Mana, S. (2004). Environmental Education Process for Waste Disposal in Plap Phla Narai Municipality, Mueang District, Chanthaburi Province. Bangkok: Master of Science Thesis. Kasetsart University.

NACC Civil Society Network, Khon Kaen Province. (2023). “Development of leaders in the network to protect public resources and investigate corruption in Khon Kaen Province”. Khon Kaen: NACC Civil Society Network, Khon Kaen Province.

NACC Civil Society Network, Maha Sarakham Province. (2023). “Development of leaders in the network to protect public resources and investigate corruption in Maha Sarakham Province”. Maha Sarakham: NACC Civil Society Network, Maha Sarakham Province.

NACC Civil Society Network, Northeastern Region. (2022). Complete report of the project “Increasing the potential of model leaders and model community leaders in investigating corruption in Maha Sarakham Province, Generation 2”, Fiscal Year 2022. Maha Sarakham: NACC Civil Society Network, Northeastern Region.

Office of Anti-Corruption Studies. (2022). Office of the National Anti-Corruption Commission. Forest Resource Protection. Bangkok: Office of Anti-Corruption Studies.

Office of Conflict of Interest. (2020). Office of the National Anti-Corruption Commission. Manual for Preventing Offences Relating to Conflicts of Personal Interest and Personal Benefit. Bangkok: Office of Conflict of Interest.

Office of Proactive and Innovative Measures, Office of the National Anti-Corruption Commission. (2021). Guidelines for Promoting and Integrating Measures to Prevent Corruption of Public Resources into Practice. Bangkok: Office of Proactive and Innovative Measures, Office of the National Anti-Corruption

Office of Promotion and Integration of Participation in Anti-Corruption. (2021). Office of the National Anti-Corruption Commission. Manual to Support the Promotion of the STRONG Network - Sufficient Organizations Against Corruption. Bangkok: Office of Promotion and Integration of Participation in Anti-Corruption.

Office of the NACC Region 4. (2023). Report of the meeting of the Subcommittee on the Promotion and Promotion of Participation, etc. Office of the NACC Region 4. Khon Kaen: Office of the NACC Region 4.

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2010). “Handbook and guidelines for promoting the people’s network to prevent corruption”. Bangkok: Office of the National Anti-Corruption Commission.

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2018). Anti-Corruption Education Curriculum. Bangkok: Office of the National Anti-Corruption Commission.

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2018). The Clean-Hearted Youth Curriculum. Bangkok: Office of the National Anti-Corruption Commission.

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2018). The Master Plan under the 20-Year National Strategy (2018 - 2037). Bangkok: Office of the National Anti-Corruption Commission.

Office of the National Anti-Corruption Commission. (2018). The Organic Act on the Prevention and Suppression of Corruption B.E. 2561. Bangkok: Office of the National Anti-Corruption Commission

Paenluea, S. (2007). Development of Training Curriculum to Enhance Leadership for Organizational Leaders, Student Affairs, Prince of Songkla University. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Rothwell, William J. (1996). Beyond Training and Development : State of Art-Strategies for Human Performance. New York: American Management Association.

Utranan, S. (1989). Basics and Principles of Curriculum Development. Bangkok: Mitr Siam Printing.

Vella, Jane. (1995) .Training Though Dialougue. Sanfrncisco: Jossey-Base.

Wanikanukul, K. (2003). “Analysis of the structure of corruption characteristics: A case study of corruption and government procurement management”. Master of Economics thesis, Business Economics program, National Institute of Development Administration.

Wiravattananon, W. (2003). Environmental Studies: Education for Learning Reform and Sustainable Development. (3rded). Bangkok: O.S. Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-14

How to Cite

วะทา อ. ., & ศรีกุลา ว. . . (2024). การพัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาเพื่อส่งเสริมเครือข่าย ป.ป.ช.ภาคประชาสังคม ในการพิทักษ์ทรัพยากรสาธารณะ. Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 655–674. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/283290