แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • นัทธ์หทัย คำยวง มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ธันยนันท์ ทองบุญตา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • กรวุฒิ แผนพรหม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ, การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรีย, โรงเรียนเฉพาะความพิการ, การประเมินความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) เสนอแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยประชากร ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 1470 คน จาก 19 โรงเรียน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม เพื่อการวิจัยที่มีความเชื่อมั่น 0.986 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)

ผลการศึกษาพบว่า

1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ

2) ลำดับความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3 อันดับแรกได้แก่ การคัดกรองนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การส่งเสริมและพัฒนา ตามลำดับ

3) แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดังนี้ สถานศึกษาควรแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมีแผนปฏิบัติงานและคู่มือ การดำเนินงานที่ชัดเจน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนให้ครบถ้วน ประสานขอข้อมูลจากผู้ปกครอง ชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวมถึงเชิญเข้ามามีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เพื่อพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้านและรายงานผลการดำเนินงานทุกภาคเรียน มีการพัฒนาเครื่องมือในการคัดกรองนักเรียนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและนักสหวิชาชีพ สถานศึกษาควรจัดกิจกรรม ที่หลากหลายตามความสนใจของนักเรียน ส่งเสริมการอบรมการให้คำปรึกษาเบื้องต้น มีระบบส่งต่อนักเรียนที่ชัดเจน ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำข้อตกลงการส่งต่อนักเรียนร่วมกัน เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงมีการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

References

Cronbach, L.J. (1971). Essentials of Psychological Testing. (5thed). New York : Harper Collins.

Chuangchot, S. (2013). Problems and guidelines for developing a student support system at Rayong Panyanukul School Under the Supervision of the Special Education Administration bureau. Master’s thesis: Burapha University.

Chuenyoo, S. (2022). Development of the Student Support System for Students with Hearing Impairments of Special Schools for Disabilities under the Office of Special Education Administration according to Sappurisadhamma 7. The Journal of Research and Academics, 5(5), 219-234.

Education for Persons with Disabilities Act 2008. (2008). Royal Gazette, 125(28A), 1-13.

Korkusol, A. (2020). The Implementation of Student Care-Taking System in Boarding Schools under the Special Education Bureau in Lopburi Province. Journal of Buddhist Education and Research, 7(1), 26-37.

Kritakarathorn, W. (2024). The Guidelines to Develop The Students’ Care and Support System of The Special Under Affiliation of Special Education Bureau, School Group 7. Journal of Mani Chettha Ram Wat Chommani, 7(3), 1-23.

Mental Health Development Office Department of Mental Health. (2003). Teacher's manual for student care and support system, grades 3-4 (Grades 1-6). Bangkok: Printing Business Office War Veterans Organization.

Ministry of Education. (2021). Policy and focus of the Ministry of Education fiscal year 2023. Ministry of Education.

National Education Act 1999. (1999, 19 August). Royal Gazette, 116(74A), 1-23.

Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. (2004). Guidelines for operating the student care and support system in educational institutions. Bangkok: Printing House, Shipping and Parcel Organization.

Office of Academic and Educational Standards Ministry of Education. (2009). Student care and support system, principles, concepts and directions for operations. (N.P.)

Office of the Basic Education Commission. (2016). Manual for operating the student care and assistance system. Bangkok: Ministry of Education.

Office of the Basic Education Commission. (2022). Guide for selecting educational service area offices and educational institutions to receive the Student Care and Support System Award for the year 2022. (N.P.)

Phudphong, M. (2020). The Development of Student Care and Support System Using Professional Learning Community For Teachers Under The Secondary Education Service Area Office 32 Schools. Journal of MCU Nakhondhat, 7(6), 257-269.

Special Education Administration bureau. (2013).Self-study document for special education, Volume 2, Basic knowledge in special education. Bangkok: Office of the Basic Education Commission. Ministry of Education.

Suksaiam, N. (2015). The Student Supporting System's Operation in Retardation Schools under The Special Schools Bureau of Special Educational Administration. Master’s thesis: Suan Dusit Rajabhat University.

Special Education Administration bureau. (2017). Guidelines for organizing activities to promote raising children with disabilities. Bangkok: Office of Special Education Administration.

Special Education Administration bureau. (2022). Report numbers by disability-specific school personnel category. (Information as of October 5, 2022). Information system for special education and welfare education.

Unjit, K. (2022). The Implement of Student Care System for Children with Special Needs in Basic Education Schools, under Ubon Ratchatani Primary Educational Service Area Office 1. Journal of Sisaket Rajabhat University, 16(3), 44-57.

Wongsawan, K. (2016). Teachers' Situations and Problems Concerning Student Counselling under Special Education in Central Area. Master’s thesis: Chandrakasem Rajabhat University.

Wongwanich, S.(2019). Research to assess needs is necessary. Pimpalak, Bangkok: Chulalongkorn University.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-08

How to Cite

คำยวง น., ทองบุญตา ธ. ., & แผนพรหม ก. . (2024). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเฉพาะความพิการ ประเภทความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ . Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 553–572. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/283195