การประยุกต์วัฒนธรรมล้านนาเพื่อพัฒนาสื่อภาพยนตร์ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • ปริญญ์ กฤษสุนทร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมล้านนา, ภาพยนตร์, การประยุกต์ใช้วัฒนธรรม, การผลิตภาพยนตร์, วิจัยเชิงปฎิบัติการณ์

บทคัดย่อ

ตามด้วยยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไทย อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ (CREATIVE INDUSTRIES) เป็นส่วนสำคัญในการก่อเกิดรายได้กับประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนาสำหรับการผลิตสื่อภาพยนตร์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ“วิจัยและพัฒนายกระดับการสร้างภาพยนตร์ไทยสู่ตลาดโลกและพัฒนากำลังคนที่เชี่ยวชาญระดับสากล โดยใช้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา” โครงการดังกล่าวได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม หรือ บพค. ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

            ผลการศึกษาพบว่า 1) มีการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมล้านนาจากภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง ผ่านประเด็นเรื่อง ความเชื่อ ศิลปะ ศิลปะนาฏกรรม อาหาร รวมไปถึงเทศกาลประจำท้องถิ่น 2) ภาพยนตร์สามารถสร้างการจดจำวัฒนธรรมล้านนาให้แก่ผู้ชมได้ดี 3) ในมิติด้านเศรษฐกิจ ภาพยนตร์มีความสามารถในการต่อยอดให้เกิดการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ได้ในกลุ่มผู้ชม ด้านผู้ผลิตภาพยนตร์ สามารถช่วยสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนจากการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ 4) ในมิติด้านวัฒนธรรม ผู้ผลิตภาพยนตร์ยังนำเสนอได้ไม่ดีพอ ผู้ชมต้องมีพื้นฐานความรู้ทางวัฒนธรรมล้านนาถึงจะมีความรู้สึกร่วมในการรับชม ซึ่งแตกต่างวัฒนธรรมอื่นที่ผู้ชมมีคุ้นเคยและมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมนั้นๆ ร่วมอยู่ เช่น วัฒนธรรมอิสาน เป็นต้น ข้อสรุปงานวิจัยได้แก่ วัฒนธรรมล้านนานั้นมีความซับซ้อนและมีรายละเอียดอีกมาก สื่อภาพยนตร์สื่อเดียวไม่สามารถถ่ายทอดได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ต้องอาศัยพื้นที่สื่อประเภทอื่นๆ ในการสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้ชม เนื่องจากต้นทุนวัฒนธรรมล้านนานั้นมีความพร้อมแล้ว ขาดแต่โอกาสและการสนับสนุนในระดับท้องถิ่นและระดับจังหวัดในการให้โอกาสผู้ผลิตภาพยนตร์ในการให้พื้นที่ผู้ผลิตภาพยนต์ระดับท้องถิ่นจึงจะสามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ผลิตภาพพยนตร์ในระดับท้องถิ่นได้อย่างยั้งยืน

Author Biographies

ปริญญ์ กฤษสุนทร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ประจำแขวงวิชา ดิจิตัลฟิล์ม

นันทสิทธิ์ กิตติวรากูล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Assistant Professor of Entertrainment communication Department

References

Chomngam, A. (2022). The representation of "Por Chai Lanna" in period television dramas (Master’s thesis : Thammasat University, Cultural Heritage Management and Creative Industries Program).

Nanta, S. (2020). A lesson learned from the process and success factors in commercializing products and artworks by artists in the Lanna region (Sub-research report No. 3). Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nan Campus under Royal Patronage of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn.

Nantatikul, P. (2018). Film-induced tourism: A case study of "Fan Day" (Master’s thesis : Mahidol University). Mahidol University Intellectual Repository.

Phothipruek, N., Buntan, V. & Phositphan, T. (2014). The marketing mix factors influencing Chinese tourists' decision to visit Chiang Mai. FEU Academic Review, 7(2), 110-132.

Sombun, S. (2021). "Isan mass/Isan mai": The popularity of Isan films and the construction of Isan identity since the 2000s (Doctoral dissertation). Dhurakij Pundit University.

Sombun, S. & Chummaungpak, M. (2022). "Isan mass/Isan mai": The popularity of Isan films and the construction of Isan identity since the 2000s. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 16(2), 85-106.

Srinorachan, S. (2024). Media consumption behaviors and impacts of film-induced tourism in Chiang Mai, Lamphun, and Lampang provinces. NIDA Journal of Communication and Innovation, 11(1), 145-168.

Supangkarat, W. et al. (2015). The design of an animated film using applied Lanna art influences: A final research report (Final research report).

Techapongsatornm, A. (2022). The Population in Bangkok Media Exposure of Isan Culture Through Film Media Which Affects the Film Elements (Collage of Social Communication Innovation Srinakharinwirot University).

Chanterma, N. (2017). The construction of Isan identity through short films in the Isan Film Festival. NIDA Journal of Communication and Innovation, 4(2),115-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

กฤษสุนทร ป., & กิตติวรากูล น. . (2024). การประยุกต์วัฒนธรรมล้านนาเพื่อพัฒนาสื่อภาพยนตร์ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 337–354. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/282734