การแก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรให้มีการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ณัฐพร จิระวัฒนาสมกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ปริฉัตร ภูจิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

เกษตรอินทรีย์, การแก้ไข, กฎหมายปฏิรูปที่ดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนทำการเกษตรมาเป็นการเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร 2) ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกับการเกษตรอินทรีย์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 3) ศึกษารูปแบบการแก้ไขเพิ่มเติมการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. 2518 การวิจัยนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสมประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ และการรับฟังความคิดเห็น นำมาวิเคราะห์เนื้อหา ประชากรจำนวน 20 คนจากการคัดเลือกเฉพาะเจาะจง คือเกษตรกรผู้มีส่วนได้เสีย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภคและนักวิชาการ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรคือเกษตรกรจำนวนประชากรมา 296 คน ตามทฤษฎีทาโร ยามาเน่ คัดเลือกแบบสุ่มและวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ร้อยละ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดินยังคงใช้สารเคมีแต่ต้องการหันมาทำการเกษตรอินทรีย์โดยให้ภาครัฐส่งเสริมด้านให้ความรู้และเงินทุน 2) ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ ซึ่งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกามีกฎหมายเกษตรอินทรีย์ 3) จากความเห็นของประชากรวิจัยประกอบกับรูปแบบของกฎหมายต่างประเทศดังกล่าว นำมาปรับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. 2518 โดยเพิ่มหมวดส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ประกอบไปด้วยอำนาจหน้าที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินในการกำกับดูแลการทำการเกษตรอินทรีย์ในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน มาตรการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ สิทธิประโยชน์และเกณฑ์การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ในเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน

           ข้อเสนอแนะการวิจัย คือให้แก้ไขพ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.ศ. 2518 เพื่อใช้บังคับในการกำหนดหลักเกณฑ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และการควบคุม โดยออกเป็นกฎหมายลำดับรองลงมาเพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายส่งเสริมการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างยั่งยืน

References

Agricultural Land Reform Act B.E. 2518 (1975). Government Gazette, Volume 94, Part 54, Special Edition, page 11.

Announcement of the Office of Agricultural Land Reform, Chiang Rai Province. (2024). Subject: Determining duties for farmers to perform regarding burning agricultural land in the land reform area. Retrieved from https://alro.go.th/uploads/org/public/files/cr. [1 March 2023]

BBC NEWS Thai. (2023). PM 2.5 dust: Thailand found the highest hotspots since 2023, found in almost 80% of conservation forests and reserved forests. Retrieved from https://www.bbc.com/thai/articles/crgzp3p1vp2o. [1 March 2023]

Constitution of the Kingdom of Thailand 2017. (6 April 2017). Government Gazette, Volume 134, Section 40, Page 1.

European Commission. (2023). Conditionality explained. Retrieved from https://agriculture.ec.europa.eu/common-agricultural-policy/income support/conditionality_en. February 5th, 2023.

European parliament. (2018). Regulation 2018/848 on organic production and labelling of organic products and repealing Council Regulation (EC) No 834/2007. Retrieved from https://eur-lex.europa.eu/eli/reg/2018/848/oj. February 5th, 2023.

Khamchantharat, P. et al. (2020). Research article on the prevalence of pesticide poisoning in farmers in Sakon Nakhon Province. The Office of Disease Prevention and Control 7 Khon Kaen, 27(2), 55-66.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2020). Basic information of Sakon Nakhon Province. Retrieved from https://www.opsmoac.go.th/sakonnakhon-dwl-files-431991791868. 1 March 2023.

U.S. Department of Agriculture, Farm Service Agency. (2023). Laws and regulations. Retrieved from https://www.fsa.usda.gov/programs-and-services/laws-and-regulations/index. [5 February 2023]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite

จิระวัฒนาสมกุล ด. ., จิระวัฒนาสมกุล ณ. ., & ภูจิตร ป. . (2024). การแก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรให้มีการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร. Journal for Developing the Social and Community, 11(3), 251–262. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/281637