ความแตกต่างของคำลักษณนามที่ปรากฏในจารึกสุโขทัยกับที่ใช้ในปัจจุบัน
คำสำคัญ:
ความแตกต่างของคำ, จารึกสุโขทัย, ลักษณนามบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำลักษณนามที่ปรากฏในจารึกสุโขทัยที่มีความแตกต่างกับลักษณนามที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลคำลักษณนามในสมัยสุโขทัยจากหนังสือประชุมจารึกภาคที่ 8 จารึกสุโขทัยของกรมศิลปากร ทั้งสิ้น 52 หลัก เปรียบเทียบกับคำลักษณนามที่ปรากฏใช้ในปัจจุบัน จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554 (2556) และจากหนังสือ ลักษณนาม:ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2551) โดยบันทึกข้อมูลในตารางการเก็บข้อมูลที่พัฒนาโดยนักวิจัย ผลการศึกษา พบว่าคำลักษณนามที่ใช้ในจารึกสุโขทัยมีความทั้งสิ้น 78 คำ และพบคำลักษณนามที่แตกต่างกับคำลักษณนามในปัจจุบันทั้งสิ้น 22 คำ โดยแบ่งคำลักษณนามออกเป็น 6 กลุ่มลักษณนาม คือ 1) คำลักษณนามบอกชนิด 5 คำ 2) คำลักษณนามบอกหมวดหมู่ 4 คำ 3) คำลักษณนามบอกสัณฐาน 2 คำ 4) คำลักษณนามบอกจำนวนและมาตราวัด 9 คำ 5) คำลักษณนามบอกอาการ 1 คำ และ 6) คำลักษณนามซ้ำชื่อ 1 คำ ซึ่งสามารถสรุปการใช้ลักษณนามที่มีความแตกต่างระหว่างจารึกสุโขทัยและลักษณนามที่ใช้ในปัจจุบัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) คำลักษณนามในสมัยสุโขทัยถูกทำให้มีความหมายแคบเข้าในการใช้เป็นคำลักษณนามในปัจจุบัน และ 2) คำลักษณนามที่ปรากฏในจารึกสุโขทัย บางคำหายไปในปัจจุบัน บางคำมีการใช้คำลักษณนามคำใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงมโนทัศน์ในการมองสิ่งรอบตัวที่แตกต่างกันของคนในแต่ละช่วงสมัย
References
Bandhumedha, B. (1971). Characteristics of the Thai language. Bangkok: Thammasat University Press.
Bandhumedha, N. (2015). Noun Classifiers. Journal of Humanities and Social Sciences, SRU, 7(1), 1-23.
Chaimano, B. (2017). A Comparison of Classifiers in 4Thai Dialects. Lampang Rajabhat University Journal, 6 (2), 73-90.
Classifiers: The Royal Institute. (2008). Bangkok: Royal Institute.
Deepadung, S. (1997). Extension in the usage of the Thai classifier /tue /In Arthurs. Abramson (ad.), Southeast Asian linguistic studies in hornour of Vichin Panupong, Chulalongkorn University Press.
Ittaratana, C. (1975). A study of Thai words and idiomatic expressions in the Sukhothai period. Master’s thesis: Chulalongkorn University.
Jaturongkachoke, K. (1995). Semantics of the Thai classifier system (Doctoral desertation) Arizona state University, United States.
Khanitthanan, W. (1976). A Hypothesis on Noun Classifier /Ɂan/. PASAA, 6 (1), 261- 266.
Lakoff, G. (1987). Women, Fire, and Dangerous Things: What Categories Reveal about the Mind. Chicago and London: The University of Chicago Press.
Meesri, W. & Wongwattana, U. (2020). Grammatical Functions and Semantic Aspects of “Ɂan” In Sukhothai Period. Humanities and Social Sciences Nakhonsawan Rajabhat University Academic Journal, 6(2), 156-179.
Naksakul, K. (1978). language Use. 2nd ed. Bangkok: Kled Thai Publishing House.
Palakornkul, A. (1970). Some observation on variation and change in the use of classifier in Thai. PASAA. 6(1), 186-197.
Placzek, J.A. (1978). Classifiers in standard Thai : a study of semantic relations between headwords and classifiers. M.A. thesis, University of British Columbia.
Royal Institute Dictionary, 2554 BE. (2013). Bangkok: Nanmee Books Publishing.
Singnoi, U. (2008). Noun classifier construction in Thai: A case study in Construction Grammar. Manusaya: Journal of Humanities. 11(1), 76-90.
Theebutra, S. (1992). Ngern Podduang. Bangkok: Chuan Printing House.
Thonglor, K. (1987). Principles of the Thai language. 7th ed. Bangkok: Bamrungsan Publishing House.
Upakitsilpasarn, Phraya. (1990). Principles of the Thai language. Bangkok: Thaiwattanapanich Printing House.
Wongpukdie, B. (1984). A comparative study of classifiers in the Sukhothai period, the Ayutthaya period and the present time. Master’s thesis: Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal for Developing the Social and Community

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ