กระบวนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาวิรุธ วิโรจโน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, วิทยาเขตอีสาน
  • พระครู ประยุตสารธรรม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • ณัฐอร เจือจันทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • สุรชัย ชูคง วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • อำนวย มีราคา วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง , เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นภายใต้บริบทของระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงแนวทางในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ประชาชนที่รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนในท้องถิ่นอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 30 คน ได้แก่ ตัวแทนจากกลุ่มเศรษฐกิจชุมชนทั้ง 5 ตำบล ๆ ละ 6 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ชุมชนใช้วิธีการน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ด้วยการกำหนดแผนชุมชน กำหนดเป็นแนวทางเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายทั้งการผลิต และการดำรงชีพ
  2. ชุมชนใช้แนวทางการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้โดยมีการพัฒนาระบบทุนชุมชนในรูปแบบของธนาคารชุมชน มีวิสาหกิจชุมชน
  3. ชุมชนมีการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการสร้างภาคีเครือข่ายระดับชุมชน ตั้งกฎระเบียบในชุมชน และหลักคุณธรรม 5 ประการได้แก่ ซื่อสัตย์ต่อกัน ความเสียสละเพื่อส่วนรวม ความรับผิดชอบร่วมกันความเห็นอกเห็นใจกัน และความไว้วางใจกัน

References

Charoenrat, O. (2011). Complete research report. Research project on the benefits of happiness from the Sufficiency Economy. Bangkok: Thailand Research Fund. Prawet Wasi (1997) Civil society: views of thinkers in Thai society. Bangkok: Matichon, 1997.

Chotesathian, S. (2003). A research report on the economics of self-reliant agricultural communities using local wisdom. Klong Phu Yai Pleum community (Ruang Rueang Sap Agriculture Community). Dhonburi Rajabhat University.

Eosriwong, N. (2001). Cultural dimensions in the sufficiency economy era: meaning and importance.

Naowawathong, P. (2008). Research on Sufficiency economy community management, case study of Kaplalai village Ban Dong Subdistrict, Ubonrat District Khon Kaen Province. Master of Science Thesis Environmental Management Major National Institute of Development Administration.

Phiansang, C. (2011). Community economic development according to the concept of sufficiency economy. Case study: Suvarnabhumi District. Roi Et Province Faculty of Economics Chiang Mai University.

Saranrom, D. (2013). Living according to the Sufficiency Economy Philosophy, Bueng Bua Community. Lam Phak Kut Subdistrict, Thanyaburi District Pathum Thani Province. Bangkok: College of InnovationFoundation. Local community development. Pages 78 – 86. Art & culture magazine. Bangkok

Senanarong, A. (1999). Direction of rural development according to the Sufficiency Economy Principles. Documents from the academic conference of the Institute of Development Research, Khon Kaen University.

Sriwichailamphan, T. (2009). Rehabilitation of local communities, a survival option for community development in the era of globalization. Chiang Mai University.

Thamaramkit, T. (2011). Sustainable community management according to the Sufficiency Economy approach. Case study: Nong Nam Sai Village, Rang Bua Subdistrict, Chom Bueng District, Ratchaburi Province. Independent Research Arts Degree, Master of Arts Department of Public and Private Sector Management, Silpakorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

วิโรจโน พ. ., ประยุตสารธรรม พ., เจือจันทร์ ณ. ., ชูคง ส. ., & มีราคา อ. . (2024). กระบวนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 865–880. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/277341