การวิจัยกิจกรรมดนตรีเรื่องจังหวะเพื่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
เด็กปฐมวัย, ดนตรีและการเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อสอนจังหวะดนตรีและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะช่วงวัยนี้คือช่วงสำคัญในการเรียนรู้ทักษะพื้นฐาน ควรได้รับการอบรมบ่มเพาะ เพื่อเป็นกระตุ้นด้านพัฒนาการทางสมองมีให้เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสอน โดยใช้กิจกรรมจังหวะดนตรีและการเคลื่อนไหว โดยสอดแทรกการเรียนรู้จังหวะดนตรีตะวันตก ด้วยการให้เด็กปฐมวัยเคลื่อนไหวเข้ากับจังหวะ ได้แก่ นับแบบจังหวะโน้ตตัวดำ และนับแบบโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้น เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมจังหวะดนตรีและการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กระดับปฐมวัย โดยเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการ 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นปฐมวัย โรงเรียนเซนต์โยเซฟศรีเพชรบูรณ์ จำนวน 1 ห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนชั้นปฐมวัยดังกล่าวได้รับการเรียนรู้โดยใช้การละเล่นจังหวะดนตรี อันเป็นการเสริมสุนทรียทางอารมณ์ โดยผลการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยกิจกรรมดนตรีเรื่องจังหวะเพื่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
References
Keanampan, P. (2007). Music and Rhythmic Activities Package. Nakhon Pathom; Mahidol University.
Na Phatthalung, P. (2023). How dose music contribute to movement skills Development in early childhood. Ubon Ratchathani: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Sukeak, M. (2020). The Study of Music instruction for Early Childhood Based on Suzuki’s Approach Of Aum Aree Music School. Bangkok; Bansomdej Chaopraya University.
Nakorn, W. (2009). Rhythmic Activities Package for Early Childhood Children. Nakhon Pathom; Mahidol University.
Ratthanawit, S. (2011). Music for cultivating emotional maturity in children: Aim to Study a group of children’s music learners. Nakhon Pathom; Mahidol University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 กิจติยา รวีฉัจรพงศ์, รัฐธนินท์ รวีฉัตรพงศ์, ฤทธิฉัตร เพชรมุนินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ