หลักสูตรฐานสมรรถนะ Non-Degree การปลูกผักปลอดภัยเพื่อส่งเสริมเกษตรกรแบบ Smart Farmer
คำสำคัญ:
หลักสูตรฐานสมรรถนะ Non-Degree, โมดูล, มาตรฐาน GAP, Smart Farmerบทคัดย่อ
หลักสูตรฐานสมรรถนะ Non-Degree การปลูกผักปลอดภัยเพื่อส่งเสริมเกษตรกรแบบ Smart Farmer ได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ประเภทประกาศนียบัตร Non-Degree โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ของกลุ่มส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนอุดมศึกษา กองส่งเสริมและพัฒนากำลังคนและได้รับการอนุมัติตามโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่นำใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะการปลูกผักปลอดภัยเพื่อส่งเสริมเกษตรกรแบบ Smart Farmer วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการของเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยได้รับรองมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรตามหลักพืช GAP 2) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติการแปรรูปผักปลอดภัยได้ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์สำหรับเกษตรกรแบบ Smart Farmer การจัดการเรียนการสอนได้เรียนแบบโมดูล 3 โมดูล คือ โมดูล 1 Re-Skill การผลิตพืชตามมาตรฐานหลัก GAP โมดูล 2 UP-Skill การปลูกผักปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าแบบพืช GAP โมดูล 3 Up-Skill การปลูกผักปลอดภัยได้พัฒนาเกษตรกรเป็น Smart farmer ใช้เวลาเรียนรวม 285 ชั่วโมง ภาคทฤษฎี 60 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 225 ชั่วโมง กลุ่มเป้าหมายผู้เรียนเป็นเกษตรกร จำนวน 50 คน จากบ้านโพธิ์เงิน หมู่ที่ 13 ต.นาสีนวล อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เครื่องมือการวิจัย 1)แบบประเมินสมรรถนะผู้เข้ารับการเรียนรู้ด้านองค์ความรู้ ทักษะปฏิบัติและเจตคติของหลักสูตรฐานสมรรถนะการปลูกผักปลอดภัยเพื่อส่งเสริมเกษตรกรแบบ Smart Farmer 2) แบบสอบถามการปลูกผักปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าแบบพืช GAP พัฒนาเกษตรกรแบบ Smart Farmer 3) แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับรายเดี่ยว) 4) แบบบันทึกการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืชตามมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำเสนอผลการวิจัยแบบตารางและพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย
1) ผลการศึกษาการปฏิบัติการการเรียนรู้ของเกษตรกร 50 คนการปลูกผักปลอดภัยได้รับรองมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรตามหลักพืช GAP พบว่าเกษตรกรจำนวน 50 คน ได้ใบรับรองมาตรฐานสินค้าการเกษตรแบบพืชอาหาร GAP จำนวน 46 คน คิดเป็น 92% ของผู้เรียนทั้งหมด 50 คน ซึ่งเป็นไปตามการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ.)
2) ผลการศึกษาการปฏิบัติการแปรรูปผักปลอดภัยได้ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์สำหรับเกษตรกรแบบ Smart Farmer พบว่าเกษตรกรจำนวน 50 คน สามารถนำความรู้ ทักษะ เจตคติไปใช้แปรรูปผักปลอดภัยได้ผลิตภัณฑ์ 4 ผลิตภัณฑ์และเกษตรกรได้ขายผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ได้ช่วยลดรายจ่ายการบริโภคผักต่อรอบการผลิตผัก 12 ชนิด จำนวน 7,250 บาท จากต้นทุนการผลิต 41,450 บาท ได้ผลผลิต 2,432 กิโลกรัม จำหน่ายได้ 74,540 บาท กำไร 40,440 บาทและเกษตรกรเมื่อเรียนจบ 3 โมดูลสามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณสมบัติของ Smart Farmer จำนวน 6 ด้าน แต่สามารถพัฒนาเกษตรกร จำนวน 50 คน ไปเป็น Smart Farmer ปลูกผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP ได้จำนวน 46 คน คิดเป็น 92% ของผู้เรียนทั้งหมดจำนวน 50 คน
References
Bureau of Agricultural Extension. (2013). Knowledge about production towards intelligent agents of plant propagation. Bangkok : Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Bureau of Agricultural Extension. (2015). Ordinary home department store. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Department of Community Development. (2022). Principles of vegetable gardening. Bangkok: Ministry of Beach.
Kaewthep, K. (1986). The loss of riches and the loss of riches of the state. Louis Althusser. Bangkok: Institute of Social Research. Chulalongkorn University.
Ondam, B. (1987). Next. Bangkok: Office of Planetary Defense for Planets.
Sitathani, K. (1999). Vegetables in the home garden. Bangkok : M.P.
Srisa-ard, B. (2013). Preliminary research. Maha Sarakham: Aphichat Printing.
Wasi, P. (1987). Recently, Thailand for development. Bangkok : Amarin Printing Group.
Wiiwat, S. (1999). Theory of social development strategies. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing House. Mueang Sa Kaeo Province.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ประสพสุข ฤทธิเดช, สายใจ เพ็งที, สราวุฒิ ดาแก้ว, เกรียงไกร นามนัย, สุนทรีย ไชยปัญหา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ