ผลการฝึกรูปแบบวงจรที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ธนวรรณพร ศรีเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ธนาศิลป์ สีลารักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • จักรดาว โพธิแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ไตรมิตร โพธิแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ณัฐชัย พรมโม้ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การฝึกแบบวงจร, เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบวงจรที่มีผลต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ก่อนและหลังการฝึกของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 11,346 คน เป็นนักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 3 สาขาวิขาคณิตศาสตร์ มีอายุระหว่าง 20-21 ปี จำนวน 25 คน เลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 คน (เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19) โดยเป็นผู้ที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเท่ากับ 25-30% ระยะเวลาในการฝึก 4 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 16.00-17.00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมการฝึกแบบวงจร และเครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทีเทส กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาณเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.3 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.40 และหลังการฝึก พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.70 ตามลำดับ
  2. ผลการเปรียบเทียบปริมาณเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังการฝึก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          สรุปได้ว่า การฝึกรูปแบบวงจรที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สามารถส่งผลต่อปริมาณเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลงได้

 

References

Buntham, N. (2008). Effects of training a circuit exercise program on overweight. of male students in the 2nd grade. [Online]. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2008.699

Changbanjong, T. (2016). Circuit exercise program to develop physical fitness.For the health of higher education students.[Online]. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/65688

Khonhan, P. (1995). Effects of circuit training on physical fitness of male students at different levels. Mukdahan : Khambok Wittayakarn School. [Master's degree thesis not published]. Chiang Mai University.

Kiankaeng, J. (2013). Station training (circuit training). [Online]. http://poohpinkpuff.blogspot.com/2013/08/circuit-training.html

Krawanrat, C. (2002). Principles and training of athletics techniques. Bangkok : Kasetsart University.

Luesak, A. (2017). Effects of circuit training program on body weight ofStudents of Demonstration School. Pibulsongkram : Pibulsongkram Rajabhat University.

Puangpee, W. Penglee, N. & Mawinthorn, W. (2019). Effects of a circuit training program using High-intensity interval aerobics is the basis for physical fitness of obese male students. Journal of Health Education, Physical Education and Recreation, 45(2), 167-181.

Rattanakose, R. (2008). Basic bicycle training. Bangkok : Suviriyasan.

Sae Ngow, S. (2008). Effects of a circuit exercise program on the health and wellbeing of children with Being overweight [Master's degree thesis]. Chulalongkorn University.

Thammasakul, C. & Hongsuwan, C. (2019). Results of exercise program training. Cyclic effects on body fat percentage and resting heart rate in women with Overweight. [Online]. https://:/Users/Admin/Downloads/243458-Article%20Text-842176-2-

Wechaphaet, C. & Palawiwat, K. (1993). Physiology of exercise. Bangkok : Thammakamon printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

ศรีเมือง ธ. ., สีลารักษ์ ธ. ., โพธิแสน จ. ., โพธิแสน ไ. ., & พรมโม้ ณ. . (2024). ผลการฝึกรูปแบบวงจรที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 579–590. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/275707