แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ้านเมืองอาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุภัทรจิตต์ มะโนสด -
  • อนิรุทธ์ สงค์ธนาพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • วิยะดา มีศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ธิดารัตน์ ทิพย์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • บุบผา ทะจันทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, ความยั่งยืน

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ้านเมืองอาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ชุมชนบ้านเมืองอาง จากนั้นวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและจัดทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (FAM Trip) ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่มในการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกระบวนการการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายผ่านกิจกรรม “Appreciation Influence Control” หรือ AIC ผลการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของบ้านเมืองอางพบว่าด้านแหล่งท่องเที่ยวบ้านเมืองอางมีนาขั้นบันไดและผักปลอดสารพิษ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวพบว่ามีการส่งเสริมของมูลนิธิโครงการหลวงดอย อินทนนท์ ให้มีการปลูกผักอินทรีย์เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ ด้านการเข้าถึงสามารถเข้าถึงได้จากถนนหลักเข้าสู่หมู่บ้านในระยะทาง 10 กิโลเมตร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกนั้นบ้านเมืองอางมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน และด้านที่พักแรมของชุมชนจะมีที่พักแบบทดลองจำนวน 3 หลัง สามารถพักได้หลังละ 1 – 3 คน และพร้อมที่จะพัฒนาให้เกิดที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่อไป ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนของบ้านเมืองอาง ควรมุ่งเน้นการจัดตั้งกลุ่มการท่องเที่ยวเพื่อการบริหารจัดการและก่อให้เกิดการกระจายรายได้ความโปร่งใสตรวจสอบได้ในการบริหารงาน มีกฎระเบียบเป็นที่ยอมรับและรับรู้โดยทั่ว และควรมีการพัฒนาองค์ประกอบด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางแสวงหาโอกาสในการเพิ่มรายได้สู่ชุมชนจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

References

Bortol, Kathryn M. and Martin, David C. (1998). Management. 3rd ed. New York: McGraw-Hill, Inc.

Chiang Mai Provincial Office. (2020). Summary presentation of Chiang Mai Province. Retrieved March 13, 2021, from http://www.chiangmai.go.th/managing/ public/D8/8D22Oct2020145452.pdf

Department of Tourism. (2014). Handbook for inspecting and evaluating the quality standards of agricultural tourism destinations. 2nd edition, Ministry of Tourism and Sports: Bangkok : Department of Tourism.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.

Khattiya, K., et al. (2020). Developing the Potential of Agricultural Community in Huay Sai

Sub-District Maerim District Chiang Mai Province. Journal of Modern Management Science, Thai Journal Citation Index Center.

Keeranant, G. (2018). The Perspective of Agro Tourism Development in Thailand. Kasetsart Journal of Social Sciences, 36(2), 162-167. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org

Patyamon, S. (2015). Model of Efficient Agro-Tourism Management in Eastern Thailand. Silpakorn University Journal, 35(1), 103-112.

Ratthanan, P. (2015). Development Guidelines for Sustainable Agro-Tourism: Pang Da Royal Project. Suranaree Science and Technology Journal, 9(1), 19-35.

Techachai, C. (2009). The role of local government organizations in sustainable tourism development based on the concept of self-sufficient economy. Bangkok: Office of the Cabinet and Royal Institute of Public Administration.

Thanamont, T. (2015). The 3rd Year Development of Chiang Mai Community Agro-Tourism Management Potential. (Research project report) Chiang Mai Rajabhat University.

Thepgorn, N. (2011). The relationship between agricultural tourism activities and the utilization of agricultural resources in the community: A case study of Chang Klang agricultural tourism, Nakhon Si Thammarat Province. Journal of Management and Information Science, 2011, 6(2), 1-12.

Tourism Authority of Thailand. (2013). Study of the situation and opportunities for promoting the market of ecotourism and adventure tourism. Retrieved March 13, 2013, from http://etatjournal.com/web/menu-download-zone/menu-dl-executive-summary/484-2555-dl-eco-adventure-ex-sum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

มะโนสด ส., สงค์ธนาพิทักษ์ อ., มีศรี ว., ทิพย์ประเสริฐ ธ., & ทะจันทร์ บ. (2024). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาบ้านเมืองอาง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 399–412. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/274540