การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำพลังร่วมของครู ในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรวุฒิ อันปัญญา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน เทศบาลนครขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ภาวะผู้นำครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วมครู ในการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมครู ในการจัดการเรียนรู้ 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพลังร่วมของครู ในการจัดการเรียนรู้ 4) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครู ในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วมครู โดยวิธีสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญและการประเมินความเหมาะสม ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครู ในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 248 คน ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครู ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 4 การนำรูปแบบภาวะผู้นำพลังร่วมครู ไปใช้กับครูในโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การประเมินองค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วมของครู ในการจัดการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม 2) ด้านการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ด้านการสรางทีมงาน 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตร 5) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 2. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของครู ในการจัดการเรียนรู้ สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นโดยรวมมีค่า 0.24 3. การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพลังร่วมครู ทำการยืนยันวิธีการพัฒนารูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยวิธีสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ได้องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ คือ 1. บทนำ 2. รายละเอียดวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำครู ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การฝึกปฏิบัติจริง 3) การศึกษาดูงาน 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบชุมชนวิชาชีพ (PLC) 5) การนิเทศ กำกับ ติดตาม 3. เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ 4. เงื่อนไขความสำเร็จการนำรูปแบบไปใช้ 4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพลังร่วมครูครู พบว่า มีคะแนนหลังพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน ผลการวัดระดับภาวะผู้นำครู หลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินผู้เข้ารับการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการประเมินความพึงพอใจของครู ต่อรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำพลังร่วมครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด            

References

Ratchapat, A. (2011). Development of leadership indicators for teachers in basic educational institutions. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Wattanasaksiri. C. (2018). Strategic leadership development of department heads in Rajamangala University of Technology. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Douglas, A.R. and Emily Truelove. (2011). The Power of Collective Ambition. Harvard Business Review, form the December, 89(12), 94-102.

Hiller, N.J., Day, D.V. and R.J. Vance. (2006). Collective enactment of leadership rolesand team effectiveness : A field study. Leadership Quarterly, 17(4), 387-397.

Judge, T.A. and R.F Piccolo. (2004). Transformational and transactional leadership : Ameta-analytic test of their relative validity. Journal of Applied Psychology,18(4), 589-598.

Thongsuk, K. (2017). Development of a program to enhance ethical leadership of school administrators under the Office of the Basic Education Commission. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Pharnphob, N. (2010). Study of teachers' needs regarding leadership characteristics of administrators. Private Kindergarten Under the Office of the Private Education Commission Nakhon Si Thammarat Province. Bangkok : Srinakharinwirot University.

Office of the Basic Education Commission. (2013). Policy of the Office of the Basic Education Commission, fiscal year 2014. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Kuenkel, P. and Schaefer, K. (2016). The Art Of Leading Collective–Co–Creating A Sustainable, Socially Just Future. Germany : Potsdam.

Chatchawapantha, P. (2016). Development of a program to strengthen leadership. Strategic leadership of secondary school administrators. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Thonglao, P. (2010). Participatory action research for development. System for enhancing teachers' leadership in learning management According to the philosophy of Sufficiency Economy. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.

Wasi, P. (2014). Leadership creation system for modern Thailand. Mahidol University Bangkok: Center for Contemplative Education.

Ronald W Rebore. (2000). Human resources administration in education a management approach (6th ed). Boston: Allyn And Bacon.

Absuwan, S. (2013). Indicators of collaborative leadership among primary school administrators. Khon Kaen, Khon Kaen University.

Julsuwan, S. (2011). Developing leadership for change in administrators supporting government higher education institutions. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Yordsala, S. (2013). Developing visionary leadership of primary school administrators under the Office of the Basic Education Commission. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Chaiyamaha, T. (2013). Model for developing teacher leadership in learning management. Secondary school Under the Provincial Administrative Organization in the Northeast. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.

Pakika. W. (2017). Developing a program to strengthen leadership. The creative leadership of school administrators. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Wannakam, W. (2010). Development of professional competencies of administrators of small educational institutions under the Office of the Basic Education Commission. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Chankaew, W. (2012). Model for developing creative leadership of school administrators under the Surat Thani Primary Educational Service Area Office, Area 3. Bangkok : Rangsit University.

Chansiri. W. (2008). Development of core competencies of support administrators in public universities. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Mungnaklang, W. (2013). Teacher leadership development model in small educational institutions. Under the Office of the Basic Education Commission in Government Inspection Area 11. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University.

Sutakot. Y. (2010). Leadership development of municipal employees: the case of municipal offices. Mukdahan city. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06

How to Cite

อันปัญญา ว. . (2024). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำพลังร่วมของครู ในการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนทัน สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 105–120. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/274201