กิจกรรมทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ศิริวัฒนาศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กฤษณา จินดาสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กฤษอาภา จินดาสอน โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ

คำสำคัญ:

กิจกรรมทางกาย, ทัศนคติ, พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีกิจกรรมทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะ     ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสร้างเสริมและดูแล       สุขภาวะ (Health Promotion and Care) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 238 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ตั้งแต่ 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการมีกิจรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 68.9 ระดับทัศนคติที่มีต่อการมีกิจกรรมทางกายภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 โดยส่วนใหญ่นักศึกษามีทัศนคติที่มีต่อการมีกิจกรรมทางกายในระดับดีมาก และพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.72

References

Chonapha, S, Sarocha, Y, Jittima, J, & Chaiyawat, N. (2022). Sedentary behavior and the risk factor of non-communicable disease. Journal of Sports Science and Health Innovation, 1(2), 1-10.

Chonlaphan, P, & Wassan, U. (2021). Thailand physical activity situation based on Kaotajai sesson 1 and participants. Thailand Journal of Health Promotion and Environmental Health, 44(4), 46-56.

Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). Master Plan for Promoting National Physical Activity 2018-2030. (Online). Retrieved July 17, 2023. From https://dopah.anamai.moph.go.th/th/activityplan/download/?did=185662&id=1 6955&reload=

Dunstan, D.W. et al. (2010). Television viewing time and mortality:the Australian Diabetes, Obesity and Lifestyle Study (AusDiab), 121(3), 384-319.

Office of Royal Development Projects Board. (n.d.). Royal speech on public health.

(Online). Retrieved June 14, 2023. From http://www.rdpb.go.th/th/King.

Physical Activity and Health Division, Ministry of Health. (2016). Recommendations and

guidelines for physical activity for all age groups. (Online). Retrieved July 31, 2023. From http://203.157.65.18/doh_info/web/uploads/pdf_1283/

Physical Activity and Health Division, Ministry of Health. (2023). Physical Activity Analysis Report. (Online). Retrieved Apirl 31, 2023. From https://dopah.anamai.moph.

go.th/th/dopahkpiindicators2566/download?id=107776&mid=37727&mkey=m_ document&lang=th&did=30934

Surawit Rungsawang. (2022). Factors Affecting Physical Activity Among Older Adults In

Phitsanulok Municipality, Phitsanulok Province. Master’s Thesis, Public Health Program, Naresuan University.

Waraphan, W, Rattiya, C, & Pannawit, P. (2023). Physical Activity of Health Status and

Prevention Diseases in Late School-Age Children. Ramathibodi Journal, 46(2), 43-53.

World Health Organization. (2022). Physical Activity (Online). Retrieved June 14, 2023. From 5 October 2022. https://www.who.int/news-room/

factsheets/detail/physical-activity,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-08

How to Cite

ศิริวัฒนาศิลป์ ด. ., จินดาสอน ก. ., & จินดาสอน ก. . (2024). กิจกรรมทางกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/274120