ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, ประสิทธิผลของโรงเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ประสิทธิผลของโรงเรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยองกลุ่มตัวอย่างสุ่มจากครูในโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 จำนวน 217 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การวัดผลประเมินผล การนิเทศการศึกษา และการพัฒนาและใช้สื่เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร และการแนะแนว
- ประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน และด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวd
- การบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตชลบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ในระดับสูงมาก (r=0.879) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Bhiraban, T. (2018). The relationship between academic administration and the effectiveness of basic educational institutions. Under the jurisdiction of the area office Chiang Rai Primary Education, Area 1. University of Phayao : Phayao.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York: Harper & Row.
Hoy, W. K. & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice. (6thed). Boston: McGraw – Hall.
Jongrak, N. (2011). The relationship between the communication style of subject group heads and the effectiveness of schools under Pattaya City. Bang Lamung District Chonburi Province. Burapha University : Chonburi.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3)
Office of the Basic Education Commission. (2017). Policy of the Office of the Commission. Basic education, fiscal year 2017. [Online]. http://www.petburi.go.th/web/attachments/article/765/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2 %E0%B8%A2%20%E0%B8%AA%E0%B8%9 E%E0%B8%9060.pdf. [28 March 2022]
Office of the Basic Education Commission. (2019). Policy of the Office of the Commission. Basic education, fiscal year 2019. [Online]. https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf [28 March 2022].
Pathakamin, D. (2017). The relationship between academic administration and the effectiveness of educational institutions in Sanam Chai District, an area under the Chachoengsao Primary Educational Service Area Office, Area 2. Burapha University: Chonburi.
Prukratok, S. (2017). The relationship between academic administration and the effectiveness of the school expanding educational opportunities, Mueang District, Rayong Primary Educational Service Area Office, Area 1. Burapha University : Chonburi.
Wongnutaroj, P. (2010). Academic administration. Bangkok : Bangkok Supplementary Media Center.
Yodmalee, K. (2015). The relationship between teachers' work motivation and the effectiveness of schools under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office, Area 1. Burapha University: Chonburi.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 นภาพร วงค์เนียม, สมชาย เทพแสง, สนั่น ประจงจิตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ