การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, วิชาเคมีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนเชิงรุก เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพนงามพิทยานุกูล จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.58/79.23 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ไม่ต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.89, S.D. = 0.26)
References
Duangjampa, J. (2021). Development of Culturally Responsive Learning Activities on Thai Culture for Grade 10th. (Master's thesis). Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University.
Funfuengfu, V. (2019). Successful Implementation of Active Learning Activities. Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1), 135-145.
Ministry of Education. (2017). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2008 (Revised Edition B.E. 2017). Bangkok: Office of the Prime Minister.
Nanet, T. (2017). The Effects of Cooperative Learning Activities with High-Level Questions on Students' Ability to Justify and Their Achievement in Mathematics: The Case of Functions in Grade 10th. Journal of Curriculum and Instruction, 9(26), 77-89. Sakon Nakhon Rajabhat University.
Office of the Basic Education Commission. (2019). Guidelines for Counseling to Develop and Promote Active Learning in Accordance with the Policy of Reducing Learning Time and Increasing Learning Efficiency. Bangkok: Royal Agricultural University Cooperative Limited.
Phon Ngam Pitthayanukul School. (2021). Internal Quality Assurance Report of Phon Ngam Pitthayanukul School 2021. Maha Sarakham: Phon Ngam Pitthayanukul School, Maha Sarakham Educational Service Area Office.
Phonthadawit, N. (2016). Active Learning Management (2nd ed.). Bangkok: Triple Education.
Saraphai, L. (2017). Development of Learning Outcomes and Learning Behavior inBiology by Using Active Learning with Light Synthesis for Grade 11th. (Master's thesis). Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University.
Srisa-ard, B. (2010). Preliminary Research (8th Edition). Bangkok: Suwiriyasarn.
Institute for the Promotion of Science and Technology Education, Ministry of
Education. (2018). Indicators and Learning Content for the Core Science Learning Area (Revised Edition, 2017) According to the Basic Education Core Curriculum, Buddhist Era 2551. Bangkok: Cooperative Agricultural Printing House, Thailand.
Suprom, S. (2018). Developing Self-Directed Learning Abilities in the 21st Century for Lower Secondary Students. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation, 7(12), 35-145.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วรนิษฐ์ ศิระพัฒน์ปรีดา, สมาน เอกพิมพ์, ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ