การศึกษาการคิดเชิงพีชคณิตกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ณธินี ขอดคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ยุทธพงศ์ ทิพย์ชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการคิดเชิงพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาระดับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเชิงพีชคณิตกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการคิดเชิงพีชคณิต แบบทดสอบการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับการคิดเชิงพีชคณิตกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยนําเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า 1) การคิดเชิงพีชคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 หลายมุมมอง คิดเป็นร้อยละ 28.92 2) การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 การให้เหตุผลที่แสดงออกมาเป็นตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ โดยจะมีกลวิธีการคิด ที่เป็นเหตุเป็นผล คิดเป็นร้อยละ 53.01 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเชิงพีชคณิตกับการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .797 และจากการสัมภาษณ์ พบว่า นักเรียนที่มีระดับการคิดเชิงพีชคณิตอยู่ในระดับ 5 ขยายนามธรรม นักเรียนสามารถหาคำตอบได้สามารถอธิบายแนวคิดและแก้ปัญหาได้ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบที่ตนเองให้ได้ นักเรียนที่มีระดับการคิดเชิงพีชคณิตอยู่ในระดับ 4 เห็นความสัมพันธ์ นักเรียนสามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบที่ตนเองให้ได้บางข้อ นักเรียนที่มีระดับการคิดเชิงพีชคณิตอยู่ในระดับ 3 หลายมุมมอง นักเรียนสามารถอธิบายแนวคิดและการแก้ปัญหาได้ สามารถใช้ทักษะการคิดและการคำนวณได้อย่างถูกต้องในบางข้อ นักเรียนที่มีระดับการคิดเชิงพีชคณิตอยู่ในระดับ 2 มุมมองเดียว นักเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาแต่ไม่สามารถใช้ทักษะในการคิด การคำนวณในการหาคำตอบได้ และนักเรียน ที่มีระดับการคิดเชิงพีชคณิตอยู่ในระดับ 1 ก่อนจะมีมุมมอง นักเรียนสามารถบอกตัวแปรได้ แต่ไม่สามารถ คิดคำนวณหาคำตอบได้

References

Boonplod, N. (2019). A study of the use of Algebraic Thinking Skills by 12th Grade High School Studens Enrolled at Srikranuanwittayakom School. Master of Education (Mathematic Education). Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.

Boonprajak, S. (1997). Development of Mathematical Power of Mathayom Suksa 1 Students Through Cooperative Learning. Doctor of Education degree in Mathemetics Education: Srinakharinwirot University.

Department of Curriculum and Instruction Development. (2002). Mathematics learning management manual. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

National Council of Teachers of Mathematics. (1989). Curriculum and Evaluation Standards for School Mathematics. Reston, VA: The National Council of Teachers of Mathematics.

National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and standards for school mathematics. Reston, VA: Author.

Rakes, Chris & Valentine, Jeffrey & Mcgatha, Maggie & Ronau, Robert. (2010). Methods of Instructional Improvement in Algebra A Systematic Review and Meta- Analysis. Review of Educational Research, 80,72-400.

Stacey, Ralph. (2000). The Emergence of Knowledge in Organization. Emergence. A Journal of Complexity Issues in Organizations and Management. 2(2), 23-39. 10.1207/ S15327000EM0204_05.

Sukhoyachai, P. (2019). A Study of The Relationship between Algebraic Thinking and Mathematical Problem Solving of Eighth Grade Students. Master of Education (Mathematic Education). Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.

Tetsrimueang, W. (2021). The study of approaches to enhancement the level of mathematical reasoning; Linear Equation of One Variable Mattayomsuksa 1. Master of Education (Mathematic Education). Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.

Thipkong, S. et al. (2010). Agricultural Demonstration Mathematics Teacher Experience Book. Bangkok: Education Research and Development Center Demonstration School of Kasetsart University.

Usiskin, Z. (1999). Algebra and Calculus for All?. Journal of Mathematics and Science: Collaborative Explorations, 2(1), 73-88.

Worakham, P. (2021). Education Research (12thed). Maha Sarakham: Taksila Printing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-19

How to Cite

ขอดคำ ณ., & ทิพย์ชาติ ย. (2024). การศึกษาการคิดเชิงพีชคณิตกับการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal for Developing the Social and Community, 11(2), 53–68. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/268777