การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ทักษะการพูด, ทักษะการฟัง, แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 จำนวน 1 ห้อง จำนวน 42 คน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ การฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบสื่อสาร จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดทักษะการฟังและการพูด จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้การฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (One Sample t- test) ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อทักษะการฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (E1/E2) เท่ากับ 80.13/82.06 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2) เปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการฟังและการพูดภาษาจีน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสอนภาษาแบบสื่อสาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
Baker, J., & Westrup, H. (2000). The English language teacher’s handbook: How to
teach large classes with few resources. London, England: VSO/Continuum.
Brown, H. D. (1994). Teaching by principles: An interactive approach to language
pedagogy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall Regents.
Jiraporn, T. (2017). Development of Chinese Communication Ability by
Teaching Language for Communication with Song for Mathayom Suksa 2
Students at Na Chaleang Pittayakom School Nong Phai District, Phetchabun
Province.Thesis: Uttaradit Rajabhat University.
Juthamas, C. (2018). Development of listening and spoken English proficiency
of Mathayom Suksa 3 students according to the guidelines of language
teaching for communication.
Littlewood, W. (1981). Communicative Language Teaching: An Introduction.
Cambridge : Cambridge University Press.
Ministry of Education (2008). Core Curriculum of Basic Education B.E. 2008. Bangkok : Agriculture Authority of Thailand.
Tanakorn, S. (2015). "Development of a teaching model for foreign language
learning strategies to enhance listening and spoken English for undergraduate
students." Doctor of Philosophy Thesis, Department of Curriculum and
Instruction, Graduate School, Silpakorn University.
Teeraporn, K. (2010). Factors affecting English Speaking among 2nd Year English
Language Students. Faculty of Education, Rajabhat University in Bangkok. Suan
Sunandha Rajabhat Rajabhat District, Bangkok.
Nathan, X. (2012). The importance of Mandarin in the country. Retrieved from
https://www.gotoknow.org/posts/236881
Rixon, S. (1986). Developing Listening Skill. London: Macmillan Publisher.
Ronnaphon, M. (2008). Teaching Chinese in Thailand. Bangkok : Center
for Chinese Studies, Institute of Asian Studies.
SaiPin, R. (2011). Creating a series of English teaching activities for communication on "Moment inLife" using the theory of teaching English for communication For 4th grade students, Nareerat School, Phrae. Uttaradit University : Uttaradit Rajabhat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ธีรภัทร์ บุญหล้า, ทิพาพร สุจารี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ