แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วจนพร ทุมมาวัด
  • กฤษกนก ดวงชาทม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21–0.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ สถานศึกษามีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1.สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 2) การมีวิสัยทัศน์ 3) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน 4) การใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล 5) การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ

2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ คือ คู่มือการพัฒนา ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

Anderson, R. E., & Dexter, S. L. (2005). School technology leadership: An empirical

investigation of prevalence and effect. Educational Administration Quarterly,

(1), 49-82.

Chairat, R. (2013). The relationship between technology leadership and organizational

efficiency information of school administrators. Master’s Project, M.Ed.

(Educational Administration). Rajabhat Surat Thani University.

Changkwanyuen, P. (2013). Techniques for writing and producing textbooks. (7th ed).

Bangkok: Chulalongkorn University.

Charungsirawat, R. (2011). Practice manual writing techniques. Khon Kaen:

Khon Kaen University.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.

Office of the Education Council. (2017). Education in Thailand. Bangkok : Prigwan

graphic.

Office of the Education Council, Ministry of Education. (2017A). The national scheme of

education B.E. 2560-2579. Bangkok: Prikwran Graphic. [in Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2012). Developing education in

mountainous and remote area . Bangkok : Thailand Agricultural Cooperative

Publishing. (in Thai)

Prajuk, T. (2017). Technology leadership information of school administrators

according to teachers' opinions under Surat Thani primary educational service

area office 3. Master’s Project, M.Ed. (Educational Administration). Rajabhat

Surat Thani University.

Sirinimittrakul, K. (2010). Development of product quality control manuals of Genesis

Associates Co., Ltd. Thesis, Master degree in business administration, school of

management science, Sukhothai Thammathirat University.

Secondary educational service area office Kalasin. (2021). Action plan of Secondary

educational service area office Kalasin 2020. Kalasin : Secondary educational

service area office Kalasin.

Srisa-ard, B. (2010). Fundamental studies. (8th ed.). Bangkok: Suviyasas publisher.

Wongwanich, S.. (2015). Needs assessment research (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn

University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-23

How to Cite

ทุมมาวัด ว., & ดวงชาทม ก. . (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 265–280. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/267501