แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา อุทธาทอง
  • กฤษกนก ดวงชาทม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 368 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.34–0.74 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ สถานศึกษามีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

1.สภาพปัจจุบันโดยรวมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 2) การนิเทศการสอน 3) การบริหารจัดการเรียนรู้ 4) การบริหารจัดการหลักสูตร ตามลำดับ

 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ 4) เนื้อหา 5) กระบวนการพัฒนา และ 6) การวัดและประเมินผล มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

References

Boonpirom, S. (2009). Principles of educational administration. Bangkok : Printing Point Book.

Changkwanyuen, P. (2013). Techniques for writing and producing textbooks. (7th ed).

Bangkok: Chulalongkorn University.

Charungsirawat, R. (2011). Practice manual writing techniques. Khon Kaen:

Khon Kaen University.

Glickman, D. (2007). Supervision and instructional Leadership:A developmental

approach. (7th ed.). Boston: Pearson international ed.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), p. 607-610.

Krug, R.E. (1992). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free

Press.

Marsh, C. J. (1997). Perspectives: Key concepts for understanding curriculum. London:

Falmer Press.

Ministry of Education. (2008). Basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008).

Bangkok: Thailand Agricultural Cooperative Publishing.

Ministry of Education. (2010). World Class Standard School, Handbook of Curriculum

and Teaching Development. Bangkok : Thailand Agricultural Cooperative

Publishing.

Office of the Basic Education Commission. (2012). Developing education in

mountainous and remote area. . Bangkok : Thailand Agricultural Cooperative

Publishing.

Office of the Basic Education Commission. (2020). Education in the digital age.

Retrieved, from https://www.posttoday.com/social/general/

Runcharoen, T. (2011). Profession of Educational Management and Administration in

Educational Reform (Revised Edition) for the Second Reform and the Third

External Quality Assessment (6th ed.). Bangkok: Khaofang.

Sirinimittrakul, K. (2010). Development of product quality control manuals of Genesis

Associates Co., Ltd. Thesis, Master degree in business administration, school of

management science, Sukhothai Thammathirat University.

Suntarayuth, T. (2008). Reformative Administration : Theory, Research, and Educational

Procedure. Bangkok : Natikul Press Co.,Ltd.

Srisa-ard, B. (2010). Fundamental studies. (8th ed.). Bangkok: Suviyasas publisher.

Wong-Anutrohd, P. (2010). Academic administration. Bangkok : Phimdee printing.

Wongwanich, S.. (2015). Needs assessment research (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn

University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

อุทธาทอง ส., & ดวงชาทม ก. (2024). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 281–296. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/267500