รูปแบบการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของ นักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ เอี่ยมอุดม โรงเรียนบ้านหลวง

คำสำคัญ:

การพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อม, คุณธรรมจริยธรรม, โรงเรียนบ้านหลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง เพื่อทดลองใช้และเพื่อประเมินรูปแบบการ พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน วิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ (1) สร้างรูปแบบการ พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยการศึกษาและ วิเคราะห์เนื้อหาเอกสาร และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ยกร่างและตรวจสอบความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน (2) ทดลองใช้รูปแบบการ พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน กับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 43 คน นักเรียนระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ปี การศึกษา 2563 รวมจำนวน 194 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 194 คน (3) ประเมิน รูปแบบการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียน บ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 38 คน ปีการศึกษา 2564 สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของ นักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดประสงค์ การพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา ข คุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ 2.ขั้น ปฏิบัติการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา 3.ขั้นการนิเทศติดตาม 4.ขั้นการศึกษาผลจากการ พัฒนา และผลลัพธ์จากการพัฒนา ได้แก่ ผลลัพธ์ตรง (Output) คือ ผลการพัฒนาการจัด สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ผลลัพธ์ตาม (Outcome) คือ พฤติกรรมด้านความมีวินัย พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ และพฤติกรรมด้านการมีจิตสาธารณะ โดยรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน พบว่า การ พัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้มีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน และได้ดำเนินการพัฒนา สภาพแวดล้อม 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ (1) กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร (2) กิจกรรม พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร (3) กิจกรรมพัฒนาสนามกีฬา (4) กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภายในโรงเรียน และ(5) กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้าน หลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ประกอบด้วย พฤติกรรมด้านความมีวินัย พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ และพฤติกรรมด้านจิตสาธารณะ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ใน ระดับมากที่สุด
  3. ผลการประเมินรูปแบบรูปแบบการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน พบว่า โดยรวมมีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

Buntham, T. (2004). Stress conditions from work of secondary school teachers in the Nakhon Pathom Educational Service Area, District 1. Bangkok : Silpakorn University.

Chakrapetch, T. (2001). Effects of using a guidance package on students' self-discipline. Mathayom 1, Sulao Saen Saep School Bangkok. Bangkok : Srinakharinwirot University.

Chumchit, Y. (2003). Education and Thai teacherhood. Bangkok : Odeon Store.

Department of Environmental Quality Promotion. (2016). School of Environmental Studies for Sustainable Development. Bangkok : Abish Intergroup.

Department of Health. (2008). Handbook of environmental health in schools. Nonthaburi : Printing Business Office War Veterans Organization.

Educational Research Division. (2002). National Educational Quality and Standards Assessment System. Bangkok : Chuanpim Printing House.

Futrakul, D. (2011). The process of operating a Buddhist school that transmits the characteristics of students. Buddhist Way School in Pak Phli District Under the district office Primary education area, Nakhon Nayok. Bangkok : Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Hongplang, C. (2008). Development of operations to strengthen student discipline in maintaining cleanliness at Ban Non Thayung School, Chakkratcha District, Nakhon Ratchasima Province. Maha Sarakham : Maha Sarakham University.

Khamkerd, T. (1990). Organizing a good atmosphere and environment in schools. Wittayachan, 88 (2); 18-20.

Khamsonsat, K. (1999). A study of responsible behavior of students. Mahidol University. Bangkok :Srinakharinwirot University.

Ministry of Education, Ministry. (2003) . National Education Act B.E. 2542 and its amendments (No. 2) B.E. 2002. Bangkok : Ministry of Education.

Ministry of Education, Ministry. (2010). National Education Act B.E. 2542, amended (No. 2) B.E. Bangkok: Ministry of Education.

Ministry of Education, Ministry. (2018). Announcement of the Ministry of Education regarding the use of educational standards at the early childhood level, basic education level. and the basic education level of the Special Education Center, dated 6 August 2018. Bangkok: Ministry of Education.

Ministry of Education, Ministry. (2018). Educational standards Basic education level Attached to the announcement of the Ministry of Education is the use of educational standards at the early childhood level, basic education level and Basic education level, special education center, issue dated 6 August 2018. Bangkok : Ministry of Education.

Ministry of Education, Ministry. (2018). Policy of the Office of the Basic Education Commission, Fiscal Year 2018, 1st printing. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Co., Ltd. Printing Press.

Plant genetic conservation project under the royal initiative Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn (Public Health Department). (2017). School Botanical Garden Operations Manual 2017. Bangkok: Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative.

Sasum, K. (2005). Basic administration and supervision. Bangkok: Aksornphiphat.

Srikalasin, K. (2001). Student Discipline : Encyclopedia of Education (Edition 22). Bangkok : Thanthat Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28

How to Cite

เอี่ยมอุดม ส. . (2024). รูปแบบการพัฒนาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของ นักเรียน โรงเรียนบ้านหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน. Journal for Developing the Social and Community, 11(1), 699–720. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/267070