Development of Systems and Mechanisms for Good Management Under Good Governance Kaeng Loeng Chan Subdistrict, Mueang District, Maha Sarakham
Keywords:
systems and mechanisms, management, good governanceAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนและบุคลากรที่มีต่อระบบกลไกการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม (2) เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบกลไกการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาลองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 422 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของบุคลากรและประชาชนที่มีต่อระบบกลไกการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาลองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม ด้านการประยุกต์ใช้แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ได้รับการประเมินมากที่สุด (= 4.45) รองลงมา คือ ด้านประสิทธิผลของการสื่อสาร (=4.44) ส่วนด้านที่ได้รับการประเมินน้อยที่สุด คือ ความสามารถในการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ (= 4.10) (2) การประเมินระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม พบว่า หลักความโปร่งใส่ และหลักความคุ้มค่า ได้รับการประเมินระดับมากที่สุด (= 4.42) ส่วนด้านที่มีผลการประเมินน้อยที่สุด คือ หลักคุณธรรม (= 4.22) และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบกลไกการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาลองค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวน 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน และความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์การ ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ 0.052 ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ 0.275 ตัวแปรดังกล่าวสามารถอธิบายระบบกลไกการบริหารจัดการที่ดีภายใต้หลักธรรมาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม ได้ร้อยละ 58.30 (R2 = 0.583 , F = 25.909) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Burikul, T. et al. (2002). Study project to develop an index to measure the results of the development of a good management system. Nonthaburi: King Prajadhipok's Institute.
Retrieved on 9 October 2022 https://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_313.pdf
Ieamvijarn, S. (2003). Corporate governance and organizational management under the conditions of the new world order. Graduate Sakon Nakhon Graduate Studies Journal. 22(2), 101.
Ieamvijarn, S. (2018). Mechanism system and process evaluation. Concepts for developing the results of curriculum administration in Thai higher education institutions. Sakon Nakhon Graduate Studies Journal. 15(18), 3.
Office of the Government Information Commission. (2022). Regulations of the Office of the Prime Minister on the Creation of a Good Government and Social Administration System, B.E. 2542. Retrieved on 9 October 2022 from http://www.oic.go.th>data.
Plianbangyang, S. (2015: Abstract) Attitude factors towards information technology and skills in using information technology. Veridian E-Journal, Silapakorn University Thai version, Humanities, Social Sciences and Arts. 8(3).
Seriratana, S. (2002). Organization and management. Bangkok : Thammasan.
Srichana, K. et al. (2021). Factors influencing management according to good governance principles of the Udon Thani Provincial Administrative Organization. Journal of Modern Learning Development. 6(2), 300-310.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 สุธินี อัตถากร, สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Articles that are published are copyrighted by the authors of the articles