การพัฒนาสมรรถนะหลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ SQP2RS ร่วมกับแอปพลิเคชัน POPPLET
คำสำคัญ:
สมรรถนะหลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร, SQP2RS, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, แอปพลิเคชัน Poppletบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ SQP2RS ร่วมกับแอปพลิเคชัน Popplet โดยมีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ SQP2RS ร่วมกับแอปพลิเคชัน Popplet ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนรายวิชาภาษาไทย 5 (ท33101) โรงเรียนป่าหวายวิทยายน อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ขอนแก่น โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SQP2RS ร่วมกับแอปพลิเคชัน Popplet ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 แผน เวลา 12 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูผู้สอน (2) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (3) แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ (4) แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (5) แบบทดสอบสมรรถนะหลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (ด้านการอ่าน) ท้ายวงจรปฏิบัติการ เป็นแบบอัตนัย ชนิดเขียนตอบ วงจรละ 4 ข้อ (6) แบบประเมินชิ้นงานที่สร้างจากแอปพลิเคชัน Popplet (7) แบบทดสอบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณท้ายวงจรปฏิบัติการ เป็นแบบอัตนัย ชนิดเขียนตอบ วงจรละ 5 ข้อ 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย (1) แบบทดสอบวัดสมรรถนะหลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (ด้านการอ่าน) แบบอัตนัย ชนิดเขียนตอบวงจรละ 4 ข้อ (2) แบบประเมินชิ้นงานที่สร้างจากแอปพลิเคชัน Popplet (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบอัตนัย ชนิดเขียนตอบ วงจรละ 5 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการคำนวนค่าร้อยละ (Percentage) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนมีคะแนนสมรรถนะหลักภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (ด้านการอ่าน) เฉลี่ยเท่ากับ 28.50 คิดเป็นร้อยละ 86.88 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยเท่ากับ 17.80 คิดเป็นร้อยละ 89.00 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
References
Art-in, S. (2007). The development of critical thinking teaching skills of teachers. Primary Science. Khon Kaen: Khon Kaen University.
Chamnankit, C. (2017). Chonthee Chamnankit. (2017). Development of a competency-based training curriculum in the use of Thai language to prepare for cooperative education. using cooperative learning styles and concepts Teaching language for communication. Chonburi : Burapha University.
Echevarria,J., Vogt,M. &Short, D.J. (2010). Making content comprehensible for secondary english learners: The SIOP model. Boston: Allyn and Bacon.
Khaemanee, T. (2002). Teaching science. Bangkok: Chulalongkorn Publishing House.
Tonpho, K. (2018). Thai language for communication. Bangkok: O.S. Printing House.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ณัฐพรรณ ภูแสนใบ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์เป็นของผู้ประพันธ์บทความ