แนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • จินตหรา ปะเวละทัง มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพัฒนา, การเสริมสร้าง, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติราชการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการครู และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสภาพปัจจุบัน 0.95 มีค่าอำนาจจำแนกสภาพปัจจุบันอยู่ระหว่าง 0.32 – 0.73 ค่าความเชื่อมั่นสภาพที่พึงประสงค์ 0.96 ค่าอำนาจจำแนกสภาพที่พึงประสงค์อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.77 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการครู อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญต้องการจำเป็นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.48 -0.55 เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ ดังนี้ (1) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (2) ด้านการพัฒนาบุคลากร (3) ด้านให้บำเหน็จความชอบ และ(4) ด้านการจัดสวัสดิการ 2) แนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการครู ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา มี 4 โมดูล คือ โมดูล 1 ด้านการพัฒนาบุคลากร โมดูล 2 ด้านการพัฒนาบุคลากร โมดูล 3 ด้านให้บำเหน็จความชอบ และโมดูล 4 ด้านการจัดสวัสดิการ 4) กิจกรรมการพัฒนา และ5) การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการประเมินแนวทางโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

 

References

Ministry of Education. (2013). School administration handbook. In the management development project, form a juristic person. Bangkok: Agricultural Cooperatives Association of Thailand Printing Press.

Preedilok, K. (1989). Basic educational administration and supervision. Bangkok: Aksarapipat.

Kaewsuphan, D. (2017). Strengthening efficiency in government service in educational institutions. Under Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area Office 3 . Ubon Ratchathani : Ubon Ratchathani University.

Thongchan, N. (2012). Enhancement of Efficiency in Civil Service Operations of Personnel in Educational Institutions Under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 2. Nakhon Si Thammarat : Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

Srisa-ard, B. (2017). Preliminary research. 10th printing. Bangkok: Suviriyasan.

Suaykhunthod, S. (2014). Personnel management in enhancing efficiency in government service and competency of teaching professionals. Under the jurisdiction of the Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office, Area 4. Valia Alongkorn Research and Development Journal under Royal Patronage Human Religion and Social Sciences Branch. 10(2),165-175.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

How to Cite

ปะเวละทัง จ. ., & เรืองสุวรรณ ช. . (2023). แนวทางการพัฒนาการเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการครู สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. Journal for Developing the Social and Community, 10(2), 509–520. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/264569