การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ทิพย์วัลย์ กรแก้ว

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาลตามบริบท, โรงเรียนวัดทุ่งน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  4. เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา คือ ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสภานักเรียน นักเรียนโรงเรียนวัดทุ่งน้อยชั้นอนุบาล2 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ   ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปีการศึกษา 2563 คือ ครู จำนวน 8 คน,บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 2 คน,คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน, คณะกรรมการสภานักเรียน จำนวน 12 คน, นักเรียนอนุบาล2 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 122 คน, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 27 คน

ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความต้องการการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีผลระดับความต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารงบประมาณ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป และ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ

  1. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า“3S Model” มีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ 4) กระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ 5) การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานบุคคล รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานวิชาการและด้านการบริหารงานทั่วไปซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ
  3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสภาพของการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านเงินเดือน ด้านความรับผิดชอบ ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านความก้าวหน้า ด้านลักษณะของงาน ด้านได้รับการยกย่อง และด้านความสำเร็จในงาน

References

Chaisri, P. (2020). Administration according to good governance principles affecting school effectiveness under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.

Clarke,V. C. B. (2000). In search of good governance: Decentralization and democracy In Ghana. PH.D. Dussertation, Northern Illinois University.

Kimmet, P. (2005). The politics of good governance in the Asian 4. Master Degree : Griffith University.

NampaphonAngkun, P. (2021). Good governance: the heart of educational institution administration in the 21st century " Chandrakasem Rajabhat University Journal of Graduate School, 16(1).

Pakpoom, R. (2004). Under the Kamphaeng Phet Educational Service Area Office, Region 1. Kamphaeng Phet: Kamphaeng Phet Rajabhat University. Photocopy.

Phra Sanchai Jayathammo. (2015). Principles of good governance and school administration. Journal of Education Review, 2 (3), 139 - 147.

Phramahawinai Siriphatto, et al. (2020). Models for the development of management based on effective good governance. for elementary school Under the Office of Primary Educational Service Area. ournal of Education MCU, 7(3).

Silarak, K. (2020). "The principles of good governance of educational institute administrators." Under the Office of Educational Service Area, Secondary Education Area 28." Journal of MCU Buddhapanya Review, (5)3 : 53.

Suriyont, S. (2019). The relationship between teacher's work happiness and school effectiveness. in Suankularb Wittayalai Under the Office of the Basic Education Commission. Chonburi : Burapha University.

Williams, E. M. (2005). Reality Orientation, Remotivation, and Validation Therapy: Comparison of Use in Older People with Dementia. In Haight, B & Gibson, F. (Ed), Burnside’s Working with Older Adult: group process and technique (175-190). Massachusett : Jones and Bartlett.

Wiwatkanon, T. (2020). "Administration according to the principles of good governance of Pattarayanwittaya School." Journal of Educational Administration. Silpakorn University,11(1) : 1.

Zaman, Khalid. (2015). "Quality Guidelines for Good Governance in Higher Education across the Globe." Pacific Science Review B: Humanities and Social Sciences 1, (2015): 7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-22

How to Cite

กรแก้ว ท. . (2023). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ตามบริบทของโรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ . Journal for Developing the Social and Community, 10(2), 275–294. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rdirmu/article/view/264223